Pages

Saturday, April 4, 2015

Yonex V Core Tour F 310g

 

เมื่อวานได้ไปทดลองไม้ใหม่ Yonex V Core Tour F 97 310g (vcf) มาครับ ตีไปสามชั่วโมงสลับกับไม้อื่นๆไปด้วย โดยรวมๆแล้วคล้าย Dunlop f3.0 tour มากๆแต่ให้ feel ที่ดีกว่า ไม่พลาสติกเหมือน f3.0tour ไม้ vcf เป็นไม้แนว control จ๋าเอ็น 16x21 ให้ power น้อยกว่า vct310 ตัวเก่าอยู่พอสมควร ส่งลูกไปไม่ค่อยถึงหลัง หลายๆครั้งติดเน็ท ไม้นี้เหมาะกับขาโหดแรงดีและตีแฟลตเป็นหลัก feel แน่นเหมือนไม้ที่มีเอ็น 18x20 ไม้ก้านแข็งคอนโทรลทิศทางได้ดีเยี่ยม สั่งเลี้ยวซ้ายขวาได้ง่ายกว่าไม้ก้านอ่อน

สิ่งที่ vcf ต่างจากไม้ Yonex ตัวอื่นๆคือมี sweet spot ที่เล็กกว่า ตีหลุดกลางนิดเดียว power ลดลงมากมาย แต่ถ้าโดนจุด sweet spot ลูกพุ่งมากและวิถีบอลเลียดเน็ตดีสะใจผมมาก หน้าไม้ vcf นิ่งกว่าไม้อื่นๆในน้ำหนักที่เท่ากัน เป็นไม้ที่วอลเลย์ได้เป็นธรรมชาติมากๆแทบไม่ต้องปรับตัวเลยสำหรับการเล่นหน้าเน็ท

เทียบกะ Ai98, Ai98 จะมีคอไม้ที่อ่อนกว่า ก้านดีดตัวกว่า ตีสบายแขนกว่า ยิงบอลได้หนักหน่วงมาก เหมาะกับตีแรลลี่ท้ายคอร์ทยาวๆ แต่ vcf97 เหมาะกับ all court ยิงหวังผลในระยะสั้นๆเพราะความคล่องตัวสูงและก้านแข็ง

ใครควรลองไม้ตัวนี้
- คนที่ใช้ Babolat Pure Strike 18x20 หรือ Tour ที่ต้องการคอนโทรลมากขึ้นไปอีก
- คนที่ใช้ Dunlop F3.0 Tour แนะนำให้ลองด่วน
- คนที่ใช้ Wilson Pro Staff 97 ที่ต้องการ feel ดีขึ้นและ power น้อยลง
- คนที่ใช้ Wilson Blade 98, Head Radical MP หรือ DONNAY Pro One 18x20 ที่ต้องการไม้ก้านแข็งขึ้นไปอีกและให้ feel ที่ modern & lively บอลเด้งทันใจไม่อมลูกบนหน้าไม้นานๆ
- คนที่ใช้ Head Graphene Speed Pro ที่ต้องการ power มากขึ้นอีกเล็กน้อย

ใครสนใจไม้ตัวนี้ไปขอทดลองได้ที่สนามเทนนิส CV พุทธมณฑลสายสาม ครับ


Monday, January 19, 2015

แนะนำวิธีเปลี่ยนขนาดกริป Wilson

ปีที่ผ่านมาผมใช้เวลากับไม้ Wilson Pro Staff 90 เยอะมาก ยิ่งตียิ่งรู้สึกว่ากริป 4-3/8 มันเล็กไปซะแล้ว อยากอัพขนาดเป็น 4-1/2 และเมื่อตอนปลายปีผมไปลองไม้ Wilson Pro Staff 90 Tour (ดำ-เหลือง) US แล้วเกิดถูกชะตาอย่างแรง เลยสั่งมือสองจาก ebay ไม้ที่ได้มาสภาพสวยเลยครับ ...แต่รูปร่างกริปเกินจะรับได้ เจ้าของเดิมเหลากริปซะเสียรูป พี่แกตีไปได้ยังไงก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นผมต้องลงมือผ่าตัดใหญ่เพื่อชุบชีวิตมันอีกครั้ง สำหรับคนที่อยากปรับขนาดกริปไม้ Wilson ผมมีประสปการณ์มาเล่าสู่กันฟังครับ

1) รื้อกริปเดิม: กริปของ Wilson เป็นโฟมแข็ง ไม่ได้เป็นสองชิ้นประกบแบบ Head แต่รื้อง่ายกว่าของ Head เยอะเลย คือทุบทิ้งอย่างเดียวเลยไม่ต้องคิดอะไรมาก ผมใช้ตะปูยาวกับค้อนค่อยไล่แซะโฟมทิ้งไปเรื่อยๆจนเหลือแค่ก้านใน (hairpin) ตามรูป แล้วเอามีดคัตเตอร์แต่งเกลาเศษโฟมที่ติดค้างอยู่บน hairpin ออก

2) หาวัสดุมาแทนกริปโฟม: ถ้าชอบรูปร่างกริปของไม้ Head ก็เอา pallet ของ Head มาใช้ (หาซื้อยาก) แต่ผมชินกับรูปร่างกริป Wilson มากกว่าเลยใช้ pallet ของ DONNAY แทน แต่ pallet ของ DONNAY ก็ดันมีแต่เบอร์ 4-1/4 ...มีแค่นี้ก็ต้องใช้เท่าที่มีครับ แต่รูปร่าง hairpin (กว้าง-แบน) ของไม้Wilson จะไม่พอดีกับร่อง pallet (แคบ-สูง) ของ DONNAY ทำให้ประกบกันไม่ได้ สิ่งที่ผมทำคือ

2.1) ใช้มีดคัตเตอร์ตัดแต่งร่อง pallet ด้านในให้มีความกว้างที่ hairpin จะลงไปได้
2.2) หนุน hairpin ด้านแบนให้สูงขึ้นด้วยกระดาษแข็งจากกล่องน้ำผลไม้ข้างละ 2 ชั้่น ใช้เทปกาวสองหน้าในการติดตั้งกระดาษแข็ง
2.3) ประกบ hairpin เข้าด้วยกันโดยใช้เทปกาวสองหน้าอีกเช่นเคย
2.4) ปิดท้ายด้าม แนะนำให้ตอกตะปูยึดเลย

3) เสริมทรงกริปด้านนอกให้ได้ 4-1/2 ด้วยกระดาษแข็งจากกล่องน้ำผลไม้อีกเช่นเคย ทำไมต้องกระดาษกล่องน้ำผลไม้ เพราะว่า 1) มันไม่ยุบ 2) มันกันชื้นได้ดี ...แต่คราวนี้ผมให้พี่ตู๋ (สงกรานต์) เป็นคนทำให้เพราะรู้ว่างานแกเนี๊ยบ ขนาดเป๊ะ-องศาได้-เหลี่ยมชัด แล้วผลงานก็ออกมาเนี๊ยบจริงๆด้วยครับ ขนาดได้เป๊ะเลย 34mm x 29mm สันกริปทั้ง 8 ด้านคมสวยงาม ขนาดว่าหุ้มกริปหนังแล้วยังรู้สึกถึงความคมของสันได้ หามุมตีแบ๊คแฮนด์ได้ง่าย การเสริมกริปด้านนอกต้องทำลงมาถึง butt cap เลยนะครับ

4) พันกริปหนัง: ****การพันกริปหนังมันสำคัญที่จุดเริ่มต้นพันครับ**** ผมมักจะเริ่มที่ด้านแบนเสมอ (ด้านเดียวกับหน้าไม้) เพราะเมื่อพันกริปมาทบอีกรอบด้านเริ่มต้นจะสูงขึ้นมา กล่าวคือกริปด้านบน-ล่างจะมีด้านนึงที่สูงกว่าอีกด้านนึง เวลาตีโฟร์แฮนด์ผมจะวางอุ้งมือบนด้านสูงเพราะรู้สึกว่าจะได้แรงส่งจากมือดีกว่า ในขณะที่ตีแบ็คแฮนด์ผมจะกลับด้านเอานิ้วก้อยมาเกี่ยวทางด้านสูงเพราะรู้สึกว่าสบัดไม้และคอนโทรลหน้าไม้ได้ง่ายกว่า แต่บางคนชอบแบบบน-ล่างเรียบเท่ากันก็จะเริ่มจากด้านข้าง (ด้านเดียวกับข้างไม้) อันนี้ก็แล้วแต่ความถนัดนะครับ ไม่มีอะไรถูกผิด





 

Monday, December 15, 2014

คำแนะนำสำหรับผู้ที่คิดจะใช้ Wilson Pro Staff RF97 Autograph



เห็นถามกันมาเยอะ เลยจัดให้ครับ คำแนะนำสำหรับผู้ที่คิดจะใช้ Wilson Pro Staff RF97 Autograph

1) Spec: RF97 มีน้ำหนักไม้ 340g เท่ากับ Pro Staff 90 ตัวก่อนๆ แต่การกระจายน้ำหนักไม่เหมือนกันและเฟรมหนากว่ามากด้วย (22mm VS. 17mm) ทำให้ RF97 ซวิงได้ช้ากว่า Pro Staff 90 มาก คนที่จับกริปปลายๆด้ามจะรู้สึกได้ชัดเจน แต่ถ้าขยับมาจับบริเวณเลย butt cap ขึ้นมาครึ่งนิ้วก็จะช่วยให้ซวิงไม้ได้ดีขึ้น แล้วตัว PS97 315g ซวิงเร็วมั๊ย เร็วขึ้นครับ แต่ก็ยังช้ากว่า Pro Staff 90 อยู่ดี

2) ขนาดกริป: RF97 มีขนาดกริปที่เล็กกว่าทั่วไปประมาณ 1 เบอร์ ผมซื้อ 4-3/8 มาแต่จับแล้วเหมือน 4-1/4 ก่อนสั่งซื้อ แนะนำให้ไปลองจับกริปก่อน ไม้ spec โหดๆแบบนี้ผมว่าเลือกกริปใหญ่หน่อยดีกว่า

3) สไตล์: RF97 เหมาะกับคนชอบยิงกระหน่ำหวังผล หรือ attacking style เท่าที่ลองมาพบว่ายิงแรงๆแล้วทิศทางไม่ค่อยเสียเหมือนไม้ก้านอ่อน ถ้าคุณไม่ได้ตีสไตล์ยิงบอลบ้าระห่ำแนะนำว่ามองข้ามไปเลยครับ ไม้ RF97 เหมือนกับถูกออกแบบมาให้ใช้กับการเล่นสไตล์ attacking เท่านั้น อารมณ์คล้ายๆกับ Head Graphene Speed Pro

4) ความแข็ง หรือ Stiffness: แข็งพอสมควร (67RA) ไม้ RF97 เป็นหนึ่งใน 3 ไม้ที่ทำให้ผมปวดแขนนอกเหนือจาก Head Graphene Speed Pro และ Head Extreme Pro ใครมีปัญหา tennis elbow ต้องระวังไม้พวกนี้เป็นพิเศษครับ เนื่องจากไม้พวกนี้จะตีได้อรรถรสมากเวลาอัดบอลแรงๆอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากนั้นระบมแขนกันเป็นวัน

5) Feel: เหลือความนุ่มลึกแบบ Pro Staff น้อยมาก โครงสร้างไม้เสริมโฟมก็จริง แต่พอตีเข้าจริงๆแล้วรู้สึกกลวงๆ สิ่งที่คล้ายกับ Pro Staff รุ่นเก่าๆคือ Sweet Spot อยู่แถวๆครึ่งล่างของหน้าไม้

Saturday, June 21, 2014

รีวิวไม้เทนนิส Solinco Protocol 300 และ Solinco Tour 8 โดยคุณนัท LeSmash





Power
- Tour 8 : พาวเวอร์ไม่สูงมาก อยู่ในระดับที่ต้องเร่งไม้ให้เร็วเพื่อจะยิงลูก คล้ายๆ Dunlop 300 เวลายิงลูกวัดดวง บอลไม่ค่อยหลุดท้ายคอร์ท
- Protocol 300 : พาวเวอร์มากแต่ไม่ถึงขนาดคุมบอลไม่อยู่ แต่เวลายิงวัดดวงก็มีโอกาสหลุดบ่อยเหมือนกัน

Feel
- Tour 8 : ให้ความรู้สึกว่าไม้แน่น ตีแล้วมั่นคง ถ้าน้ำหนักมากกว่านี้จะทำให้ปะทะบอลที่มาแรงได้ดีกว่านี้
- Protocol 300 : ความรู้สึกเวลาปะทะบอลเหมือนกับใช้ Babolat Pure Drive แต่ความนิ่งของไม้หรือความเสถียรยังสู้ Tour 8 ไม่ได้

Comfort
- Tour 8 : ไม่ค่อยจะนุ่นนวลกับแขนสักเท่าไร่ ยังไงก็ต้องคงตัวกันสะเทือนไว้
- Protocol300 : ค่อนข้างแข็งเหมือนกัน แต่ไม่ค่อยสะเทือนแขนมาก

Control ของทั้งสองไม้ถือว่าใกล้เคียงกัน อยู่ในระดับค่อนข้างดี

Nike Lunar Court Ballistec



ลอง Nike Lunar Court Ballistec มาแล้ว รีวิวสั้นๆประมาณนี้ครับ

โครงสร้างด้านบนนุ่ม โอบอุ้มหลังเท้าดีมาก ไม่บีบรัดนิ้วก้อยหรือกัดข้อเท้า วัสดุด้านในบุมาดีให้ความรู้สึกนุ่มหลังเท้าเหมือนใส่ถุงเท้าหนาสองชั้น ต้องรัดเชือกแน่นกว่าเดิมนิดนึง แนะน...ำให้เลือกเบอร์เล็กกว่าเดิมครึ่งเบอร์

ช่วงล่างแบบโฟม Lunaron ให้ความรู้สึก firm และเกาะพื้นผิว ใช้ได้ไม่แน่นปึ้กเหมือน Court Ballistec รุ่นก่อนๆ แต่ให้ความเบาไวในการวิ่งและ การออกตัวดีพอๆกับรุ่น Vapor Tour 9.5

จังหวะวิ่ง-หยุด-เปลี่ยนทิศทาง-วิ่งต่อ ให้ความรู้สึกมั่นคงดี เท้าไม่พลิก แต่ก็ยังเป็นรอง Adidas Barricade 5/7

ความทนทาน ยังตอบไม่ได้

โดยรวม Lunar Court Ballistec ตัวนี้ เป็นเหมือนลูกผสมระหว่าง Babolat ProPulse 3 กับ Nike Vapor Tour 9.5 ครับ เหมาะกับคนที่ชอบรองเท้าแนว เบา-นุ่ม-ไว ครับ

Saturday, March 8, 2014

รีวิว Wilson Pro Staff 90 2014 และรองเท้า Nike Vapor Tour 9.5




รีวิวสั้นๆของ Wilson Pro Staff 90 2014 - รวมข้อดีของ Pro Staff รุ่นก่อนๆไว้เยอะ

1) เสียงตีบอลเหมือน PS85 ในตำนานมาก เสียงแบบนี้ นุ่มแบบนี้ คลาสสิกมากๆ
2) Power ไม่หนักหน่วงเด็ดขาดเท่า K90 แต่มากกว่า PS90BLX
3) หัวไวเหมือน PS90BLX ปั่นสปินดีสำหรับไม้ที่หนักขนาดนี้
4) หน้าไม้แข็งและนิ่งเหมือน K90 รู้สึกได้เลยว่าการวาง lay-up วัสดุกราไฟต์/เคฟลาร์ดีมากๆ ไม่ต้องถ่วงหัวเพิ่มเลย...ตีบอลแฟลตได้พุ่งและ clean มากๆ




รีวิวรองเท้า Nike Vapor Tour 9.5 - เป็นรองเท้าที่เบามาก เบาเหมือนรองเท้าวิ่งเลย จุดเด่นคือ

1) ออกตัววิ่งได้เร็วกว่า Adidas Barricade 7 (B7) เพราะเบากว่าถึง 100 กรัม ที่เบอร์เดียวกัน และพื้นล่างเตี้ยกว่าให้ feeling เหมือนวิ่งเท้าเปล่า เหมาะกับคนที่ยืนตี-วิ่งด้วยปลายเท้า
2) ระบบเชือกรัดที่เป็นส่วนนึงของการออกแบบ Adaptive Fit ที่ 2.1) เชือกคลาย-รัดตามการเคลื่อนไหวได้ดีกว่าระบบเชือกร้อยผ่านตาไก่ 2.2) ถอด-ใส่ได้เร็วมาก
3) ความฟิตกับเท้า หน้าเท้ากว้างและใส่สบายไม่มีอาการกัดหรือบีบรัดที่นิ้วโป้งหรือนิ้วก้อย

จุดด้อย
1) ความทนทาน พื้นรองเท้าสึกเร็วกว่า B7
2) ตอนวิ่งแล้วต้องหยุดกระทันหัน B7 จะให้ความมั่นคงดีกว่า

Thursday, December 26, 2013

รีวิว Head Graphene Radical Pro




Merry Christmas & Happy New Year ครับ สองเดือนที่ผ่านมาได้ลองไม้ใหม่ๆหลายตัวจากหลายค่าย หนึ่งในนั้นคือ Head Graphene Radical Pro ซึ่งผมเองก็ตั้งความคาดหวังไว้สูงเหมือนกันเพราะว่าได้ลองตี Radical Pro มาทุกตัวแล้วก็รู้สึกว่ามันจะเข้าท่าขึ้นเรื่อยๆ ขอย้อนอดีตไปนิดนึง

- YouTek Radical Pro: หน้าไม้ใหญ่ (100) ก้านอ่อน ตีบอลได้หนักหน่วงกว่าไม้อื่นๆในน้ำหนักเดียวกัน แต่ไม้ไม่คล่องตัวเลย
- IG Radical Pro: หน้าไม้เล็กลง (98) power ลดลงนิดนึง ความคล่องตัวดีขึ้น แต่ก้านยังอ่อนอยู่ คอนโทรลทิศทางยากกว่าไม้ก้านแข็ง
- TGT 260.2: เมื่อกลางปี 2013 ผมได้ลองไม้ pro stock ของ Tomas Berdych แล้วรู้สึกชอบมากๆเพราะมันมีทุกอย่างครบเครื่อง ยิงบอลหนักหน่วงและคล่องตัวในเวลาเดียวกัน ตอนนั้นคิดว่าในที่สุด Head ก็สามารถก็สามารถทำไม้ midplus 16x19 ออกมาได้ "เข้าท่า" แล้ว (ที่ผ่านมาผมไม่ชอบไม้ midplus 16x19 ของ Head เลยเพราะเหมือน feel ไม่แน่นและหน้าไม้ไม่นิ่ง) และก็คาดหวังว่า Head จะเอา TGT 260.2 มาเป็นต้นแบบของ Graphene Radical Pro

เมื่อผมได้ลอง Graphene Radical Pro ครั้่งแรก ผิดคาดอย่างแรงเพราะ feel มัน "กลวง" กว่าที่จะเป็น Head ที่เราเคยรู้จักกัน โดยเฉพาะตรงช่วงกลางๆไม้ที่เนื้่อกราไฟต์ถูกกระจายให้ไปลงที่หัวกับด้ามไม้ ทำให้รู้สึกว่าก้านไม้กลวงและบาง ตีบอลแล้วเหมือนไม้จะหักคามือยังไงก็ไม่รู้ จะว่าไปแล้วมันก็เกือบจะกลวงเหมือน Babolat Pure Drive แต่ถ้าทำใจเรื่อง feel ได้ผมว่า Graphene Radical Pro มีเรื่องพาวเวอร์และคอนโทรลที่น่าสนใจครับ

พาวเวอร์: G-Radical Pro ให้พาวเวอร์กำลังดี ตีง่าย แต่ต้องปรับตัวนานอยู่เพราะว่าการกระจายน้ำหนักของไม้ทำให้พาวเวอร์ในแต่ละจุดของหน้าไม้ G-Radical Pro ต่างจากไม้อื่นๆ ผมขอแบ่งเรื่องพาวเวอร์ออกเป็น 2 โซน

1) โซนกลางหน้าไม้: ด้วยความที่ก้านไม้แข็งขึ้นแต่ข้างในกลวงมากทำให้พาวเวอร์น้อยกว่า Radical Pro ตัวเก่าทั้งสองตัว ใส่เต็มวงแล้วลูกไม่ค่อยปลิ้นออกหลัง ถ้าตีบอลหนักๆแม่นๆ ไม้ตัวนี้ใช่เลย
2) โซนใกล้หัวไม้: ปกติแล้วไม้ทั่วๆไปจะมีพาเวอร์ที่ลดลงถ้าตีหลุด sweet spot แต่ไม้ G-Radical Pro จะยังให้พาเวอร์ในโซนใกล้หัวไม้ได้ดีกว่าไม้อื่นๆ

คอนโทรล: เลี้ยวบอลซ้ายขวาได้ง่ายเพราะก้านไม้แข็งขึ้นกว่าตัวเก่า แถมพาวเวอร์ในโซนกลางไม้ก็ไม่ได้ล้นเวอร์ก็ทำให้การคอนโทรลบอลทำได้ง่ายกว่า Radical Pro ตัวเก่าๆ อัดแรงๆได้มั่นใจกว่า Radical Pro ตัวเก่า

ความนิ่งของหน้าไม้: กราวด์สโตรกถือว่าดีครับ หน้าไม้แข็งเฟิร์มดีไม่พลิกไปมา แต่พอเอามาวอลเล่ย์แล้วรู้สึกว่าหน้าไม้ไม่ค่อยนิ่ง วางบอลไม่คมเท่า Babolat Pure Strike Tour ที่ผมก็ทดสอบในเวลาเดียวกัน

ความคล่องตัว: ทำใจนิดนึงครับ การกระจายน้ำหนักแบบลงหัวท้ายมันช่วยเรื่องพาวเวอร์ก็จริงแต่ก็ทำให้หัวไม้หน่วงอย่างรู้สึกได้ชัดเจน เล่นตอนแรกๆ ยิงมันส์ ยิงสนุก แต่พอนานๆเข้ารู้สึกว่าไม้หน่วงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าต้องเล่นกับคนที่ตีเร่งสปีดบอลเร็วๆจะลำบาก ปกติผมตีไม้หนักๆอย่าง 320-330g (ไม่รวมเอ็น) ได้สบายถ้าเป็นไม้หัวเบาเฟรมบาง แล้วจะถ่วงปรับแก้ G-Radical Pro ให้หัวไม้เร็วขึ้นล่ะทำได้มั๊ย? ผมว่ายากครับเพราะน้ำหนักที่มาลงหัวไม้มันเยอะเกินแก้ ตอนที่ผมทดลอง Graphene Speed Pro ก็ลองถ่วงหลายแบบเหมือนกัน ไม่เวิร์คเลย

บทสรุป: Head Graphene Radical Pro แตกต่างจาก IG Radical Pro ตัวเก่ามากมาย feel คล้ายๆกับ Babolat Pure Drive แต่มีคอนโทรลที่ดีกว่า ไม้ตัวนี้เหมาะกับคนที่ต้องการไม้ตีง่าย พาวเวอร์กลางๆ ตีแนว aggressive baseliner เป็นหลัก แต่ถ้าคนที่ติด feel แน่น-ดิบ ของไม้ Head รุ่นก่อนๆ แนะนำให้ไปหารุ่น IG มาใช้ดีกว่าครับ