Pages

Wednesday, December 22, 2010

เอ็น Isospeed Axon Multi, Kirschbaum Pro Line II, และ Kirschbaum Spiky Shark

Rating:★★★★
Category:Other
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทาง Thai Tennis Mania Group หรือ TTMG ที่ให้เอ็นทั้สามชุดนี้มาลองนะครับ จริงๆผมได้เอ็นชุดนี้มาตั้งแต่ก่อน Thailand Open 2010 อีกแต่เพิ่งจะมีโอกาสได้ทดลองจริงๆจังเมื่อต้นเดือนนี้เอง มาเริ่มที่เอ็น multifilament กันก่อนเลยดีกว่า ปี 2011 เทรนด์ของเอ็นมัลติแบบสี มาแน่ๆครับ หลายๆค่ายกำลังซุ่มพัฒนาอยู่ ถ้าดูใน Talk Tennis จะเห็นว่าเริ่มมีการทดสอบแบบไม่เปิดเผยแบรนด์ (Blind Test) เกิดขึ้นบ้างแล้ว รวมไปถึง Volkl Venom Multi ที่ได้รับ feedback ที่ดีมากจากเจ้าของไม้ที่ผมยืมไปทดลองจากกระทู้ http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?user=thaitennis&topic=12094[/url] ส่วน Isospeed ก็มีเอ็น multi แบบสีเหมือนกัน ชื่อว่า Axon Multi ผมขึ้นเอ็นตัวนี้บน Head PT10 แล้วก็ลองตีประมาณชั่วโมงกว่าได้ผลดังนี้ครับ

First Impression: เอ็นสีสวย แกนในเป็น mono และหุ้มด้านนอกด้วย multifilament ใสๆที่ผิวค่อข้างบาง แต่ข้อเสียที่เห็นชัดเจนคือผิวเอ็นเป็นขรุยได้ง่ายตั้งแต่ขึ้นเอ็นโดยที่ยังไม่เริ่มตีเลย
Feel: โดยรวมคล้ายๆ soft poly มากกว่าที่จะเป็น multi เอ็นให้ feel ที่เงียบขณะตีไม่มี feel ของความดิบเหมือนพวก Volkl Power Fiber II ที่เป็น power multi เหมือนกัน
Power: เป็น multi ที่ให้ power สูงมากแม้ขึ้นบนไม้ control ก็ยังมีอาการหลุดออกหลังบ้าง แต่โดยรวมถือว่า ok ครับ
Slice/Spin: ถือว่าดีกว่าคู่แข่งหลายๆค่ายครับ เป็นจุดเด่นรองจากเรื่อง power ด้วยความที่เอ็นเป็นเว้นเล็กมากทำให้สามารถกัดบอลได้ดีกว่า และ slice ก็ให้ลูกที่พุ่งเลียดเน็ตดีมากๆ

Isospeed Axon Multi บน Head PT10




เอ็นที่เพิ่งขึ้นเสร็จ ยังไม่ได้ตีเลย


ตัวที่สองเป็น Kirschbaum Pro Line II ซึ่งผมได้ยินกิตติศัพท์มานานแล้วตั้งแต่เป็น Pro Line I ผมขึ้นเอ็นตัวนี้บน DONNAY X-Dark Red 94 เอ็นตัวนี้น่าจะมี 2-3 สี เหลือง แดง และดำ Pro Line II เป็นเอ็นผิวเรียบ ผิวเอ็นมีความนุ่มขึ้นเอ็นง่าย

Feel: ให้ feel ที่เงียบ (mute) และเส้นตั้งและนอนล็อกตัวกันดี ไม่มีเสียง ping ออกตื้อนิดๆ เมื่อสัมผัสบอลให้ feel ที่นุ่มนวลไม่สะท้าน แต่เอ็นไม่ค่อยยืดตัวเท่าไหร่ จะเรียกว่า stiff ก็ว่าได้แต่ผิวเอ็นไม่กระด้างแน่นอน
Power: น้อย ถือว่าเป็นเอ็นคอนโทรลที่ดีตัวหนึ่งถึงแม้ว่าเอ็นจะไม่ค่อยอุ้มบอลเท่าไหร่ด้วยความที่เอ็นยืดตัวน้อย ถ้าขึ้นกับไม้หน้าใหญ่ๆเพื่อลด power น่าจะ work กว่าครับ ถ้าขึ้นบนหน้า MP+ อาจจะให้ power น้อยเกิน
Slice/Spin: ไม่โดดเด่นเท่าไหร่ ผมว่าเอ็นตัวนี้เหมาะกับการตี flat มากกว่าครับ






ตัวสุดท้ายเป็น Kirschbaum Spiky Shark: ซึ่งเป็นเอ็นสิบเหลี่ยม มีกี่สีไม่แน่ใจแต่ที่ผมใช้เป็นสีเหลือง ผมขึ้นเอ็นตัวนี้บน Babolat Pure Drive Roddick ซึ่งจริงๆแล้วผมอยากสลับมาขึ้นบน DONNAY X-Dark Red มากกว่าแล้วเอา Pro Line II มาขึ้นไม้นี้ ผมตีเอ็นตัวนี้ได้ไม่นานครับเนื่องจากไม่ค่อยสันทัดเรื่องเอ็นกระด้าง

Feel: แข็งและกระด้างคล้ายๆกับ Babolat Pro Hurricane Tour แต่ต่างกันที่ PHT จะเป็นเอ็นเรียบแต่ตัวนี้เป็นสิบเหลี่ยม มีเสียง ping มารบกวนอยู่พอสมควร
Power: กลางๆครับ อยู่ระหว่าง Axon Multi กับ Pro Line II
Slice/Spin: ดีใช้ได้ครับ แต่ผมชอบ spin/slice จาก Axon Multi มากกว่า เอ็นตัวนี้โดยรวมน่าจะเหมาะกับคนที่ชอบ poly แบบดั้งเดิมคือแข็งๆกระด้างๆ ถ้าจะขึ้นเอ็นตัวนี้แบบ full job แนะนำให้ขึ้นเป็น 4 ปมครับ เพราะคุณอาจจะไม่ชอบความกระด้างของมันแล้วก็ตัดเส้นนอนทิ้งก็ได้




Wednesday, December 15, 2010

วิธีการจัดการบริหารอุปกรณ์ไม้เทนนิส

Rating:★★★★★
Category:Other


ตามที่ได้ตกลงกันไว้ในกระทู้ก่อนหน้านี้ว่าจะมีมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุปกรณ์เทนนิส วันนี้ได้ฤกษ์ดีที่จะมาเล่าประสปการณ์ให้ฟังครับ ผมเริ่มสะสมไม้เทนนิสมาตั้งแต่ปี 2004 ตอนที่ Federer เริ่มใช้ Wilson Pro Staff Tour 90 คว้าแชมป์ Australian Open จำได้ว่าซื้อ PS90 มาจาก Central ลาดพร้าวในราคา 6100 บาทโดยที่คิดแค่อยากรู้ว่า Federer จะรู้สึกยังไงเวลาตีไม้ตัวนี้ โดยส่วนตัวก็ชอบไม้ตัวนั้นครับเพราะชอบในรูปร่าง ความบาง และสีสันเหลืองดำดู classic ดี แถมตีแน่นดีด้วย เริ่มติดใจ แล้วจากนั้นก็ได้มีโอกาสเดินทางไปประชุมที่ Singapore ก็ไปเจอ Head LM Radical OS ซึ่ง Agassi ใช้อยู่ในร้าน Mustafa เฮ้ย Agassi เป็นแชมป์ Australia Open ปีก่อนนี่หว่า อยากลองอีกแล้ว หลังจากเดินเวียนเทียนรอบแผนกกีฬาสามรอบก็ได้ LM Radical มาครอบครอง ก็เอามาลองตีเล่น เออ...ตีง่ายดีแฮะ แค่สบัดข้อลูกก็ไปแล้ว ชักติดใจ อืมมมม มีไม้เล็กสุดแล้ว มีไม้ใหญ่สุดก็แล้ว ลองหาอะไรอีกสักอันซิ เอาแบบตรงกลางระหว่าง 90 กับ 107 ตารางนิ้่ว ก็มาเจอ Babolat Pure Drive Team Plus หน้า 100 ที่เพิ่ง import เข้ามาเป็น lot แรกพอดีที่ Emporium คนขายก็เชียร์ซะ ผมก็อดใจไม่ได้ ก็ถอยมาทันทีเพราะชอบที่ Engineered in France (เดามั่วว่าประเทศที่ดังเรื่องน้ำหอมจะทำไม้เทนนิสได้ดี) ถึงแม้ว่าจะ Copied in China ก็ตาม ครั้งแรกที่ได้ตีก็ชอบในความที่ตีง่าย ไม่ค่อยสะท้านแขน (ไม่มี feel) ผมก็คิดว่า 3 ไม้ก็พอแล้วล่ะ ...ซี่งผมคิดผิด

วันนึงในปี 2004 ที่ Roland Garros พบว่าเฮ้ย! Federer เปลี่ยนไม้อีกแล้ว คราวนี้เป็นสีขาวแดง เห็นแล้วชักอยากลอง เอ้า! ซื้อก็ซื้อ แต่ต้องขาย PS90 ก่อน ผมขาย PS90 ได้ 3000 บาท ก็ไม่ได้คิดอะไร แต่พอมาเย็นวันนึงลองมาคิดตัวเลขเล่น ค่าเสื่อมของ PS90 = 6100-3000 = 3100 บาท ใน 7 เดือน หรือ 87% ต่อปี มาถึงตรงนี้เริมคิดแล้วว่า เฮ้ย มันต้องมีการบริหารจัดการเข้ามาช่วยแล้วล่ะ ไม่งั้นยิ่งเล่นยิ่งเจ๊ง ก็เลยลองศึกษาจากการเสื่อมราคาของอุปกรณ์เทนนิสจากราคาไม้ Dunlop ใน Tennis Warehouse :) ไม้ Dunlop ตอนออกมาใหม่จะราคา $180 แต่พอสองปีให้หลังจะเหลือ $60 หรือราคาเหลือแค่ 1 ใน 3 ด้วยราคาแค่นี้ผมคิดว่าคนคงใช้ไม้ Dunlop เยอะพอสมควร ก็เลยใช้ Dunlop เป็นเกณฑ์ซะเลย

สูตรค่าเสื่อมกลาง = (ราคาเริ่มต้น 100% - ราคาตลาดสองปีให้หลัง 30%) / 2 = 35% ต่อปี แต่มีข้อแม้ว่าราคาตลาดจะต้องไม่ต่ำว่า 30% ไม่ว่าไม้เทนนิสจะมีอายุเลยสองปีไปแล้วก็ตาม

Market Value = Buy Price - (Age x Depreciation Cost/year)
ราคาตลาด = ราคาซื้อ - (อายุไม้ x ค่าเสื่อมต่อปี)

Gain/Loss = Sell Price - Market Value
กำไร/ขาดทุน = ราคาขาย - ราคาตลาด, ถ้าตัวเลขเป็นบวกก็แสดงว่าไม่ขาดทุน (ไม่อยากเรียกว่ากำไร) แต่ถ้าเป็นลบก็ขาดทุน

แล้วผมก็ใช้สูตรนี้กับทุกๆไม้ที่ผมซื้อโดยผมจะบันทึก วันที่ซื้อ ราคาที่ซื้อ วันที่ขาย และราคาที่ขาย ก็จะได้ Excel worksheet ประมาณนี้ครับ จะสังเกตุได้ว่าส่วนใหญ่ขาดทุน ต้องทำใจครับ แต่พอมาวิเคราะห์ลึกจะเห็นว่าไม้บางประเภทจะให้ค่าเสื่อมจริงต่ำกว่าค่าเสื่อมกลาง 35% ลองดูในตารางด้านล่างทีละบรรทัดสิครับ




ถ้าดูในบรรทัดสุดท้าย ผมจะขาดทุนจากราคาตลาด (หลังจากหักค่าเสื่อม) อยู่ 3,634 บาท จากการซื้อขายไม้เทนนิสใน 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าน้อยมาก แต่สิ่งที่ได้คือ 80 ประสปการณ์ที่เพิ่มรสชาดในการเล่นเทนนิส จริงอยู่ที่ไม้เทนนิสมันเป็นแค่อุปกรณ์ในการเล่นเทนนิส แต่หลายๆคนก็หลงใหลในอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่มีคำตอบว่าถูกหรือผิดกับการที่จะชอบทำอะไรสักอย่างนึง ถ้าเราบริหารและจัดการเป็นการสะสมอุปกรณ์ก็ไม่ใช่เรื่องการผลาญเงินอย่างที่เข้าใจกันครับ

คำแนะนำเมื่อคิดจะสะสม: พอผมจับข้อมูลมาสรุปแบบ pivot table จะเห็นว่า
1. ไม้ classic ให้ค่าเสื่อมเฉลี่ยต่ำที่สุด 8% และก็เป็นเพียงไม้ประเภทหนึ่งในสองประเภทที่ให้ค่าเสื่อมจริงต่ำกว่า 35% กับอีกอันคือ Pro Stock ที่ค่าเสื่อมติดลบ คือยิ่งเวลาผ่านไป มูลค่ายิ่งสูงขึ้น ไม้ที่เหลือค่าเสื่อมสูงหลุดกระจาย
2. ไม้แบรนด์ดังๆที่คิดว่าซื้อง่าย-ขายคล่องก็ยังเจอค่าเสื่อมจริงที่สูงกว่า 35% อยู่ดี สามในห้ามีค่าเสื่อมเกิน 100%
3. โดยเฉลี่ยผมจะเก็บไม้ไว้ประมาณ 7 เดือนก่อนขายไป แต่ถ้าจะให้คุ้มจริงๆควรจะเก็บไม้เทนนิสไว้ใช้อย่างน้อยหนึ่งปีก่อนที่จะขายไป เพราะอย่าลืมว่าไม้ใหม่ราคา 6000 บาทพอเอามาปล่อย มูลค่าจะหายไปแล้ว 2000 บาทหรือประมาณ 30% อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นใช้ไปให้คุ้มใน 1 ปีเถอะครับ



และนี่ก็เป็นสิ่งที่ผมเรียนรู้ตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมา เห็นมั๊ยครับว่าเหลือแต่ Pro Stock และไม้ Classic เท่านั้น :)