Pages

Tuesday, December 11, 2012

Guru Talk: เรื่องของ Carbon Fiber วัสดุหลักที่ใช้ทำไม้เทนนิส

ต่อจากตอนที่แล้วเรื่องของวัสดุไฮเทคทั้งหลายที่แต่ละบริษัทเอามาโฆษณา คราวนี้ก็มาถึงเรื่องเนื้อๆของวัสดุหลักแล้วครับ นั่นคือ Carbon Fiber บางคนเรียก Carbon Graphite

ทำไมต้อง Carbon Fiber: เพราะว่ามันมีกำลังต้านทานแรงดึงสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวเองและดูดซับแรงสะท้านได้ดี ลองดูตารางด้านล่างเกี่ยวกับ Ultimate Tensile Strength ของวัสดุประเภทต่างๆจะเห็นว่า Carbon Fiber เกือบจะเบาที่สุดแต่กำลังรับแรงดึงสูงกว่าเหล็ก อลูมิเนียม และไม้ ในขณะที่วัสดุตัวอื่นๆอย่าง Titanium, Liquid Metal และ Tungsten รับแรงดึงได้น้อยกว่าแถมยังน้ำหนักมาก 3-10 เท่าตัว นี่แหละคือเหตุผลที่ผมไม่เชื่อว่าในไม้เทนนิสเบาๆจะมีวัสดุเหล่านี้อยู่ แต่ถ้าบอกว่ามี Aramid หรือ Kevlar หรือ Twaron อยู่ผมว่าฟังแล้วมีเหตุผลมากกว่า



ที่มา:
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultimate_tensile_strength 

Carbon Fiber Cloth: คือ Carbon Fiber เป็นมัดๆมาถักทอเป็นผืน ในแต่ละมัด (tow) จะประกอบไปด้วย Carbon Fiber เส้นเล็กๆหลายพันเส้นซึ่งมีตั้งแต่ 1000 (1k), 3000 (3k), 6000 (6k), 12000 (12k) ในอดีต 3k ถือว่าเป็นมัดที่นิยมมากที่สุดเพราะให้ feel ในไม้เทนนิสที่ดีสุด แต่ในปัจจุบัน 3k หายากมากและราคาแพงทางผู้ผลิตเลยหันมาใช้ 6k แทน ส่วนไม้ pro stock หลายๆอันโดยเฉพาะจากค่าย Dunlop และ Head ยังใช้ 3k อยู่ นี่คือเหตุผลว่าทำไมไม้ retail กับไม้ pro stock ให้ feel ที่ไม่เหมือนกัน
 
การทอ Carbon Fiber Tow: มีหลายแบบ ที่ใช้กันมากคือ 
  • Unidirectional หรือการทอทางเดียว ข้อดีคือให้กำลังรับแรงดึงสูงสุด และ มีความอ่อนตัว เลยถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของไม้เทนนิส
  • 2D Braided คือการทอแบบเส้น Tow ตั้งฉากกัน สามารถรับแรงได้สองแกนตามทิศทางของ Tow และมีลวดลายมีความสวยงาม ไม้เทนนิสหลายๆรุ่นมีการโชว์ลาย 2D เพื่อให้ดูแพงขึ้น
  • 3D Braided คือการทอแบบ 3 Tow ทำ Tow 1 ทำมุม 0 องศา, Tow 2 ทำมุม 45 องศา และ Tow 3 ทำมุม -45 องศา สานกันอยู่ ข้อดีคือสามารถนำมาใช้ในส่วนที่ต้องรับแรงบิดหลายทิศทางและทำให้โครงสร้างส่วนนั้นมีความแข็ง (Stiffness) สูงขึ้น แต่ข้อเสียคือรับแรงดึงได้ไม่สูงเท่า Unidirectional
- ไม้ Dunlop รุ่นเก่าๆใช้โครงสร้าง 3D Braided ในหัวไม้โดยที่ Tow กลางเป็น 3k เลยทำให้ไม้ Dunlop รุ่นเก่าๆอย่าง MW 200g มี feel ที่ดีถึงแม้ว่าหน้าไม้จะแข็ง 
- ไม้ Wilson Pro Staff ใช้ 3D Braided เกือบทั้งไม้ แต่เค้าจะสานกับ Kevlar ซึ่งเป็นวัสดุที่อ่อนและยืดหยุ่นกว่า เลยทำให้ไม้ Pro Staff มี feel ที่อ่อนนุ่มคลาสสิก
- ไม้ Head รุ่นเก่าๆใช้ Unidrectional Graphite แยกชั้นกับ Twaron ไม้ Head รุ่นเก่าๆอย่าง PT630 เลยอ่อนนุ่มและดิบ 


โครงสร้างไม้เทนนิส: ประกอบด้วย Carbon Fiber Cloth มาซ้อนๆรวมกันอย่างน้อย 8 ชั้น (lay up) แต่เนื่องจาก Carbon Fiber มีราคาสูงขึ้น 25% ใน 6 ปีที่ผ่านมาทำให้ผู้ผลิตบางรายต้องลดจำนวนชั้น Carbon Fiber ลงเหลือ 6 หรือ 7 ซึ่งผลคือ feel ไม่แน่นเหมือนไม้รุ่นเก่าๆ Carbon Fiber Cloth จะผสานกันได้ด้วย Epoxy Resin ซึ่งเป็นเหมือนกาวที่เชื่อม Carbon Fiber Cloth แต่ละชั้นไว้ด้วยกัน สาร Epoxy มักจะถูกเคลือบมาบน Carbon Fiber Cloth อยู่ก่อนแล้วเรียกว่า Pre-Preg แล้วพอนำมาอบเค้าจะใส่ตัว Catalyst เข้าไปเพิ่มเพื่อให้ Epoxy ประสานกันที่ความร้อนสูง คุณสมบัติของ Epoxy จะคล้ายกับคอนกรีตคือรับแรงดึงไม่ดีแต่รับแรงเฉือน (Shear Strength) ได้ดีมาก จะว่าไปแล้วการทำไม้เทนนิสก็เหมือนการหล่อโครงสร้างคอนกรีตเสิรมเหล็ก

Carbon Fiber Lay-Up: หรือการนำ Carbon Fiber Cloth มาตัดเป็นชิ้นๆแล้ววางซ้อนกันในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดคุณสมบัติการรับแรงในจุดต่างๆที่ไม่เหมือนกัน เช่นในโครงสร้างหลักของหน้าไม้และก้านเป็น Unidirectional เพื่อรองรับแรงดึงที่เกิดจากเอ็นเส้นตั้งหรือนอนในบริเวณหน้าไม้ และเพื่อรองรับการโก่งตัวของก้านไม้จากการตีบอล ส่วนที่ต้องมีการเจาะรูร้อยเอ็น (ก็ทั้งหน้าไม้นั่นแหละ) เค้าจะเสริมด้วย 2D แต่จะว่างแนวทะแยง +45/-45 องศาแทนที่จะเป็น 0/90 ส่วนในบริเวณ 2, 6, 7, 10 นาฬิกาเป็นจุดที่ต้องรับเอ็นทั้งแนวตั้งและแนวนอน มีโอกาศบิดตัวสูงกว่า เลยต้องมีโครงสร้างแบบ 3D Braided มาเสริมครับ




Feel & Vibration: การวาง lay-up ของ Carbon Fiber Cloth ในแบบต่างๆทำให้เกิด feel ที่แตกต่างกันออกไป ถ้าใครอ่านรีวิวในบล็อกผมบ่อยๆจะเห็นว่าผมอ้างถึง "นุ่ม-แน่น" อยู่หลายครั้ง นี่คือที่มาครับ
- ความแน่นเกิดจากจำนวนชั้น Carbon Fiber อย่างที่บอกว่าควรมี 8 ชั้นขึ้นไปถ้ามี 6 หรือ 7 ความแน่นก็ลดลงไป ผมเชื่อว่าทุกคนต้องการไม้ที่ให้ feel แน่น แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าไม้เทนนิสที่เรามี Carbon Fiber กี่ชั้น ...เรื่องนี้ผู้ผลิตไม่บอกกันแน่นอนครับ ต้องลองเอามาตีเอง แล้วความแน่นก็ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการถ่วงตะกั่วด้วย
- ความแข็ง-นุ่มจะเกิดจาก Carbon Fiber ชุดหลักที่เดินรอบหัวไม้ครับ ถ้าในหัวไม้มี 3D Braided เยอะหน้าไม้ก็จะแข็งๆ แต่ถ้าเป็น Unidirectional หน้าไม้ก็จะนุ่มนวลกว่า แล้วความนุ่ม-แข็งก็ไม่สามารถแก้ไขด้วยการถ่วงตะกั่วเช่นกัน

Feel มักจะมาพร้อมกับแรงสะท้านหรือ Vibration การลดแรงสะท้านที่ถูกหลัก คือการทำให้แรงสะท้านสูญเสียพลังงานไปตามรอยต่อของ Carbon Fiber Cloth ในแต่ละจุดครับ จำนวนจุดยิ่งเยอะแรงสะท้านก็ยิ่งสลายได้ดี ในไม้รุ่นเก่าๆรอยต่ออาจจะมีมากถึง 38 จุดแต่ค่าแรงในการทำจะสูงมาก ไม้รุ่นใหม่ๆรอยต่อน่าจะลดลงไปเพื่อไม่ให้ค่าแรงบานปลาย การลดแรงสะท้านของไม้เทนนิสถือว่าเป็นศิลปะและความชำนาญของผู้ผลิตในแต่ละเจ้าครับ

ความเห็นส่วนตัวเรื่อง Feel: Feel เป็นเรื่องของความชอบของแต่ละบุคคล ผมบอกไม่ได้ว่า feel แบบใหนดีสุด แต่โดยส่วนตัวผมชอบ feel ที่นุ่มและแน่น นั่นหมายความว่าต้องมีจำนวนชั้นของ Carbon Fiber Cloth ที่มากกว่า 8 ชั้นซึ่งหนาพอสมควรและมีส่วนประกอบของ 3k Carbon Fiber หรือเทียบเท่าอยู่ในนั้น ผู้ผลิตหลายรายอ้างว่าตัวเองใช้วัสดุที่บางเบาและแข็งแกร่งขึ้นแต่มันขัดแย้งกับสิ่งที่ผมเชื่อเพราะ

1) ถึงแม้วัสดุจะแน่นบางและแกร่งแค่ใหน แต่ถ้าความหนาไม่พอหรือเนื้อวัสดุแข็งเกินไป มันก็จะไม่สามารถทำให้ feel นุ่ม-แน่นได้
2) มันเป็นไปได้ยากที่ผู้ผลิตจะเอาวัสดุราคาแพงกว่ามาทดแทน Carbon Fiber

วันนี้ขอจบเท่านี้ก่อน ไว้เจอกันคราวหน้า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านนะครับ

Saturday, December 8, 2012

Mini Review: Dunlop Biofiber F3.0 Tour กับ Head IG Radical MP

เมื่อวันศุกร์ไปลองอุปกรณ์ใหม่มาสองชุดครับ



ชุดแรกเป็น Dunlop Biofiber F3.0 Tour (18x20) ที่ขึ้นเอ็น Solinco Outlast 17 ไว้ (กี่ปอนด์ก็ไม่รู้) ซึ่งถือว่าเป็นไม้ที่ฉีกแนว Dunlop 300 Tour เดิมๆมากเพราะให้ feel ที่ modern คล้ายๆกับพวก ไม้ตระกูล Aero ของ Babolat จะว่าไปแล้วคล้ายๆ Wilson BLX Blade 98 รวมกับ Babolat AeroPro Drive รูปร่างหน้าตัดก้านเป็นตัว "D" ซึ่งเป็นแนวโน้มของการออกแบบไม้รุ่นใหม่ๆ ทั้ง Wilson Blade และ Angell ก็ใช้ดีไซน์แบบนี้ สิ่งที่รู้สึกได้จาก D-Beam คือความไวและความนิ่งของหน้าไม้ หน้าไม้ไม่พลิกเหมือน Dunlop 300/300Tour รุ่นก่อนๆ แต่ความไวของหน้าไม้ไวช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการตีบอลใกล้ตัวได้ดี โดยรวมตีง่ายและนิ่งกว่า 300 Tour ตัวเก่า คอนโทรลทิศทางดี ความแข็งของก้านไม้ระบุว่า 64RA แต่ตอนตีแข็งกว่านั้น น่าจะ 67RA เป็นอย่างต่ำ power ไม่จัดเท่า Babolat แต่คนที่บ้าพลังน่าจะชอบตัวนี้โดยเฉพาะถ้าตีแฟลตเพราะคอนโทรลดี อัดแรงๆแล้วไม่ปลิ้นในขณะที่ไม้ Babolat จะเหมาะกับคนที่ตีสปินมากกว่า จุดที่หลายๆคนอาจจะไม่ชอบคือรูปร่างหน้าไม้ที่บานๆเหมือนไม้ oversize ครับ

ชุดที่สองเป็น Head IG Radical MP ที่ขึ้น Solinco Tour Bite 17 ชุดนี้ให้ feel ที่เป็นคนและแนวกับชุดแรกเลย ในขณะที่ Dunlop จะให้ความรู้สึก "ตีง่าย" แต่ Head จะให้ความรู้สึก "ตีมันส์" ไม้กับเอ็นเข้ากันมากๆ ไม้ก้านอ่อนกับเอ็นเฟิร์มเหมาะกับคนที่ชอบอัดบอลแรงๆและเล่นเกมรุก รูปร่างหน้าไม้เป็นรูปไข่สวยงามตามสไตล์ของ Head Radical MP ก้านไม้เป็นแบบ aero ไม่ box beam เหมือนรุ่นเก่าๆแล้ว ไม้คล่องตัวพอๆกับชุดแรก และคอนโทรลดีพอๆกัน แต่ส่วนตัวแล้วผมว่า IG Radical MP ยิงบอลได้หนักหน่วงกว่าและคงเส้นคงวากว่า Dunlop F3.0 Tour อาจจะเป็นเพราะการกระจายน้ำหนักมาทางหัวไม้มากกว่า ความนิ่งของหน้าไม้เป็นรอง Dunlop ครับ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากได้ไม้ที่ให้ feel โดยรวมคล้ายๆ Head IG Radical MP แต่รูปร่างเป็น D-Beam จะเยี่ยมมากๆ

ระหว่างไม้ power เอ็น spin กับ ไม้ spin เอ็น power

อาทิตย์ก่อนมีคนถามเรื่องการเลือกใช้ไม้และเอ็นระหว่าง ไม้ power กับเอ็น spin หรือไม้ spin หรือเอ็น power ดี แล้วผมก็มีโอกาสได้ตอบคำถามซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนเลยเอามาแชร์กันครับ

ถ้าเทคนิคเท่าๆกันแล้วอุปกรณ์ประภทใหนจะเอื้ออำนวยในการตี topspin มากกว่า

1) ทั้งไม้และเอ็นมีผลต่อการเอื้ออำนวยในการตีสปิน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสไตล์ผู้เล่นครับว่าซวิงช้าหรือเร็ว เริ่มที่ไม้ก่อน ผมใช้คำว่าเอื้ออำนวยในการตีสปิน (spin friendly) เพราะว่าจากผลการทดสอบของ TW ไม้หลายๆตัวมี spin potential ใกล้เคียงกันมาก แยกแทบไม่ออก Head Prestige MP มี spin window และ ball trajectory พอๆกับ Babolat AeroPro Drive ทั้งๆที่เป็นไม้คนละประเภท แต่ไม้แบบใหนล่ะที่จัดช่วยให้คุณปัดบอลได้ดีกว่าตรงนี้แค่ spec ตอบไม่ได้ คุณต้องลองเองครับ แต่จากประสปการณ์ คนที่ซวิงช้าไม้หัวไวอย่าง Prince EXO3 จะช่วยได้เยอะมาก ส่วนคนที่ซวิงเร็วๆไม้อย่าง Babolat AeroPro จะเข้ากันได้ดีกว่าเพราะมันจะบังคับให้คุณตีสปินอยู่ตลอดเวลาเพื่อคอนโทรลไม่ให้ตีลูกออก

ตีบอล 30 องศา


ตีบอล 45 องศา


เอ็นก็มีส่วนทำให้เกิดสปินมากหรือน้อย (โดยส่วนตัวผมคิดว่าเอ็นอาจจะมีผลมากกว่าไม้) สปินเกิดจาก snap-back effect ของเอ็นคือเอ็นเส้นตั้งยืดตัวด้านข้างไปตามแนวเอ็นเส้นนอนและดีดตัวกลับในเสี้ยววินาทีเพื่อปั่นบอลให้มีรอบการหมุนที่สูงขึ้น เอ็น spin ส่วนใหญ่จะมีผิวสัมผัสน้อยๆเพื่อให้เอ็นสามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ดีครับ ข้อสังเกตของเอ็นสปินคือ ยืดตัวดี แต่ผิวแข็งมาก ที่ต้องเป็นเช่นนั้นเพราะว่าถ้าผิวไม่แข็ง เอ็นจะเป็นรอยง่าย พอเป็นรอยหรือเอ็นกัดกัน มันก็จะเคลื่อนตัวไปมาได้ไม่ดีแล้วก็จะลดประสิทธิภาพสปิน ทั้ง Wilson และ Luxilon ศึกษาและเชื่อเรื่อง snap-back effect มานานแล้ว ลองไปอ่านดูได้ครับ
http://www.tennis.com/gear/2012/09/gear-talk-wilsons-john-lyons-part-1/39374/ หรือไม่ก็บทความใน TW http://twu.tennis-warehouse.com/learning_center/stringmovementPart2.php

2) ถ้าให้เลือกอุปกรณ์ 2 แบบ ไม้ spin กับไม้ power ในตลาดมักเป็นไม้ประเภทเดียวกันเพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดมาก แต่มีสิ่งนึงที่จะแนะนำคือรูปร่างหน้าตัดเฟรมซึ่งหลายคนมองข้ามแต่ผมว่ามันมีผลมากๆว่าจะตีได้หรือไม่ได้ ที่เคยเจอมา คนตี box beam มาก่อนมักจะตี aero beam ไม่ค่อยได้ แต่คนที่ตี aero beam มาจะตี box beam พอได้

ส่วนเรื่องเอ็นผมก็คงเลือกเอ็นสปินครับ เพราะความชอบส่วนตัว แต่เอ็นสปิน (poly) ก็มี 2 แบบหลักๆตามประเภทของ feel

2.1 Dead feel: จะให้ feel เกาะบอลมาก แข็งนิดๆ ไม่ค่อยเด้ง power น้อย แต่คอนโทรลดี เอ็นในกลุ่มนี้ได้แก่ Luxlilon ALU Power/Power Rough, Solinco Tour Bite, Solinco Barb Wire


2.2 Lively feel: จะให้ feel ที่นุ่มนวลกว่า เด้ง และ power ดี  เอ็นในกลุ่มนี้ได้แก่ Babolat RPM Blast, Volkl Cyclone, Solinco Revolution, Weisscannon Mosquito Bite, MSV Focus, Topspin Cyber Blue

ไม่มีคำตอบว่า feel แบบใหนดีกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความชอบครับ

Saturday, November 24, 2012

Guru Talk: เคยทราบกันหรือไม่ว่าการเทคโนโลยีวัสดุต่างๆในไม้เทนนิสแบรนด์ดังๆ "ไม่เคยมีจริง"

เมื่ออาทิตย์ก่อนผมได้มีโอกาสคุยกับผู้รู้ท่านนึงซึ่งเคยเป็นผู้ออกแบบไม้เทนนิสให้กับแบรนด์ดังแบรนด์นึง ซึ่งสองชั่วโมงที่ผมได้พูดคุยกับเค้าทำให้ตาสว่างขึ้นเยอะ ผมมีความรู้มาเล่าสู่กันฟังหลายเรื่อง แต่ขอเริ่มเรื่องของวัสดุก่อนเลยละกัน

Titanium ไม่สามารถเอามาใช้เป็นส่วนประกอบในไม้เทนนิสได้ เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติในการรับแรงปะทะ ไม่สามารถทำให้ stiffness ขึ้นมาเทียบเท่ากราไฟต์ได้ แถมน้ำหนักสูงด้วย แต่ชื่อมันฟังแล้วดูดีเหมือนเป็นวัสดุจากต่างดาว เลยถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์กีฬา

D3O/Innegra ที่โฆษณาว่าเป็นเจลที่แข็งตัวเมื่อได้รับแรงกระแทก ...แต่มันจะทำงานได้เมื่อชั้นวัสดุแต่ละชั้นหนากว่า 2mm ขึ้นไป ชั้นวัสดุของไม้เทนนิส 6 ชั้นรวมกันยังไม่ถึง 2mm เลยแล้วมันจะทำงานได้ยังไง

AeroGel เป็นวัสดุที่ใช้ในวิศวกรรมอวกาศ ก้อนเล็กๆแต่ราคาเป็นล้านเหรียญ ถ้าเอามาใส่ในไม้เทนนิสราคาไม้เทนนิสจะแพงกว่ารถยนตร์

ไม้เทนนิสรุ่นใหม่ๆที่พวกเราใช้กันอยู่ทุกวันคือวัสดุเดิม คาร์บอนไฟเบอร์ผสมเรซิน เพียงแต่ปรับ บาลานซ์ รูปแบบการวางชั้นวัสดุ (lay-up) และความแข็งอ่อนให้ต่างจากไม้รุ่นเก่าๆแค่นั้นเอง สิบปีที่ผ่านมาไม้เทนนิสราคาเท่าเดิมหรือถูกลง แถมยังต้องจ่ายเงินก้อนโตเพื่อสปอนเซอร์ให้กับนักเทนนิสอาชีพอีก เพราะฉะนั้นมันเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาวัสดุราคาแพงมาใส่เพิ่มเติม ในทางตรงกันข้ามผู้ผลิตแบรนด์ดังจะลดค่าใช้จ่ายลงจากการใช้วัสดุที่บางลงและข้ามขั้นตอนการผลิตบางอย่างไป

แล้วทำไมถึงไม่มีการนำเรื่องพวกนี้มาเปิดเผยกัน เพราะว่าแต่ละแบรนด์มีพัธะสัญญาต่อกัน วงในจะรู้กันดีว่าแบรนด์ P จะไม่แฉแบรนด์ W เพราะทั้งคู่ถือความลับของฝ่ายตรงข้ามไว้มากพอๆกัน




Wednesday, November 7, 2012

Sneak Preview: Angell Custom Racquets

หลายๆคนอาจไม่คุ้นหู Angell เท่าไหร่ แต่ถ้าบอกว่า Vantage ซึ่งเป็นไม้เทนนิส "สั่งทำ" (custom) อาจจะรู้จักมากขึ้น ตอนนี้ Paul Angell ผู้ก่อตั้ง Vantage ได้ออกมาตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า Angell โดยได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิตไม้เทนนิสแบบ Custom Made สำหรับผู้เล่นอาชีพมาให้ให้ผู้เล่นทั่วไปได้ใช้แล้ว Paul Angell เคยเป็นนักออกแบบไม้ pro stock ให้กับ Henman, Haas, Almagro, McEnroe, Ferreira, Philippoussis, Safin, Mauresmo

จุดเด่นของไม้ Angell:
1) สามารถเลือก spec ได้เลยตั้งแต่ ขนาดหน้าไม้ (95, 100, 105), string pattern (16x19, 18x20), น้ำหนัก (290-320), บาลานซ์ (head heavy - head light), stiffness (63, 70, 77), รูปร่างกริป (แบน-กลม), กริปหนังหรือยาง
2) วัสดุเป็นกราไฟต์เกรดญี่ปุ่นซึ่งให้ feel ดีกว่า ใครอยากรู้ว่ากราไฟต์เกรดญี่ปุ่นดีกว่ากราไฟต์ทั่วไปยังไง ลองไปถามคนที่ตีแบดแล้วใช้ไม้ Yonex รหัส JP เทียบกับ TH ดูครับ
3) ข้างในเสริมโฟมความหนาแน่นปานกลาง เพื่อลดแรงสะท้าน ที่ส่งมาจากหน้าไม้ (หลักการเดียวกับ DONNAY)

ตอนนี้ Angells ส่งมาให้ลอง 4 ไม้คือ TC95 และ TC100 ผมเลยถ่ายรูปเอามาให้ดูกันก่อนครับ ไม้ TC100 น่าสนใจมากเพราะส่วนตัวผมคิดว่ายังไม่มีไม้หน้า 100 ตัวใหนที่โดนใจเลย ถ้าสั่งไม้ Angell จากเว็บ http://www.angelltennis.com/ ราคาจะอยู่ประมาณ 8,000 กว่าบาทไม่รวมส่ง ใครอยากได้อดใจรอก่อนครับ เดือนธันวาคมนี้น่าจะเริ่มสั่งได้














Tuesday, October 23, 2012

พื้นฐานการปรับแต่งไม้ - Racquet Customization Fundamental



ปัญหาของคนส่วนใหญ่พอได้ไม้ใหม่มา คือ "ตีไม่เข้ามือ" คำว่าไม่เข้ามือมันตีความได้หลายอย่าง หนักไป เบาเกิน ตีไม่เข้า sweet spot, power น้อยหรือมากไป สุดท้ายก็โบ้ยว่าไม้ไม่ดีแล้วก็ขายไม้ทิ้ง

เรื่องที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดที่สุดคือ power ซึ่งมันจะโยงใยไปหลายเรื่องตั้งแต่ ไม้ เอ็น การฝึกซ้อม รูปแบบเกม ฯลฯ แต่สุดท้ายคนจะโทษไม้ สองปีที่ผ่านมาผมได้ไปดูรายการเยาวชนหลายรายการและจากสถิติของการชนะ-แพ้คือ Unforced Error การตีบอลออกมีเยอะมาก เยาวชนไทยส่วนใหญ่ถูกฝึกให้ตี ground stroke จนชิน ไม่ยอมขึ้นมา volley เพื่อปิดเกมให้เร็ว (แขนขาสั้น อาจจะกลัวโดน passing shot ก็ได้) พอต้องโต้ท้ายคอร์ทกันนาน แพ้หรือชนะอยู่ที่ใครพลาดมากน้อยกว่ากัน เด็กที่เป็นมวยกว่าก็มักจะเปลี่ยนสปีดบอลให้อีกฝ่ายปรับสปีดตาม หรือตีสปินสปิดต่ำๆเพื่อให้อีกฝ่ายอัดกลับมาให้แรงขึ้นๆ พอเร่งเข้ามากๆ ก็ตีติดเน็ตหรือหลุดหลังไปเลย สุดท้ายก็โทษไม้แล้วก็มาหาไม้ใหม่ที่ power เยอะขึ้นไปอีก! ผมได้ยินเรื่องพวกนี้บ่อยมากแต่ที่ผมคิดในใจคือ ถ้าเค้าเอาไม้ที่หน้าใหญ่ขึ้น power เยอะขึ้น มันไม่เท่ากับเค้าเพิ่มโอกาสผิดพลาดขึ้นไปอีกเหรอ?

ในการแข่งขันระดับอาชีพเค้าไม้ปรับหน้าไม้กันครับ นักเทนนิสอาชีพเค้าใช้ไม้เดิมตลอดแต่เค้าจะแก้ไขเรื่องพวกนี้ด้วยการปรับน้ำหนักและบาลานซ์แทนครับ

การเพิ่ม power ทำได้ 2 วิธีคือ
  1. ซวิงให้เร็วขึ้น โดยการลด swing weight ลงเพื่อให้ซวิงไม้ได้เร็วขึ้น เหมาะกับคนที่ชอบตีท๊อปสปินเป็นหลัก
  2. ซวิงเร็วเท่าเดิม แต่เพิ่ม swing weight ของไม้ หรือเพิ่มแรงปะทะของหน้าไม้นั่นเอง เหมาะกับคนที่ตีบอลแฟลต
การจะเลือกหนึ่งหรือสองขึ้นอยู่กับความชอบแต่ละคนครับ ผมชอบตีบอลแฟลต ชอบไม้ที่ซวิงลื่นไหลพอสมควร ผมเลยใช้ไม้ที่บางกว่า 20mm เป็นหลัก และต้องการให้การปะทะเกิดแรงต้านน้อยสุด (maximum plow-thru) เลยชอบไม้หนักๆ วันนี่ก็เลยมาแนะนำวิธีการปรับแต่งไม้เพิ่ม swing weight เป็นตัวอย่าง ผมมีไม้อยู่ 2 ตัวคือ
  1. Head PT10 เป็นไม้ pro stock ของ Marat Safin ที่ผ่านการปรับน้ำหนักมาแล้ว ตีมันส์มากๆเลยเอาไม้ตัวนี้มาเป็นต้นแบบ
  2. Head TGK 237.3C1 ซึ่งก็น่าจะเป็นไม้ pro stock ของ Marat Safin เหมือนกัน ไม้เปล่าๆเบามาก เบาจนแรงปะทะไม่พอ
อันดับแรก: เอาไม้แต่ละตัวมาตัดเอ็นทิ้ง ถอด overgrip ออก แล้วก็เอาขึ้นชั่ง  Head TGK ชั่งได้ 318g


ส่วนไม้ Head PT10 ชั่งได้ 339g ต่างกับ TGK อยู่ตั้ง 21g


ต่อมาก็วัดบาลานซ์ครับ TGK วัดได้ 31.5 cm จากท้ายด้าม


Head PT10 วัดได้ 30.5cm จากท้ายด้าม นั่นหมายความว่า PT10 หัวหนักกว่า TGK, บาลานซ์ต่างกัน 1cm นี่ถือว่าเยอะนะครับ ความไวหัวไม้ต่างกันจนรู้สึกได้ชัดเจน


เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลมากรอกใน Customization Tool ของ Tennis Warehouse http://twu.tennis-warehouse.com/learning_center/customization.php ด้านซ้ายเป็นข้อมูลของไม้ TGK และด้านขวาเป็น spec ของ PT10 ที่ผมต้องการปรับไม้ TGK ให้เป็น


พอคำณวนเสร็จก็จะได้ตำแหน่งของตะกั่ว 21g ที่ผมต้องถ่วง ในนี้จะมีคำตอบสองแบบ
- แบบที่ 1: เน้นให้หัวเบา swing weight ต่ำ จะได้ซวิงได้เร็ว ตะกั่วทั้ง 21g ลงมาอยู่ที่เหนือกริป
- แบบที่ 2: เน้นให้หัวหนัก swing weight สูง เพื่อเพิ่มแรงปะทะ จะแบ่งตะกั่วเป็น 2 ส่วน 4g อยู่ที่หัวไม้บนสุด กับ 17g อยู่ที่ด้ามไม้-> ผมเลือกวิธีนี้เลย


แล้วก็ตัดแถบตะกั่วให้ได้ตามน้ำหนักที่ต้องการ ที่ถุงตะกั่วมีคำเตือนว่าการสัมผัสตะกั่วเป็นอันตราย เพราะฉะนั้นแนะนำให้ใส่ถุงมือนะครับ


เริ่มติดตะกั่วบนหัวไม้ ต้องรื้อตาไก่ออกมาเล็กน้อย



ชั่งตะกั่ว 17g สำหรับด้ามไม้ให้เกินเล็กน้อย เพื่อชดเชยกับน้ำหนักกระดาษกาวที่เราต้องลอกออกไป


เลาะกริปหนังออกแล้วก็ติดตะกั่วลงไปที่ปลายด้ามเหนือ butt cap ครับ จริงๆผมอยากฝังตะกั่วที่ในด้ามมากกว่าเพราะไม่อยากให้กริปใหญ่ขึ้น แต่การฝังตะกั่วในด้ามมันยุ่งยากเกินแล้วต้องใช้ซิลิโคนด้วย เอาแบบนี้แหละ ง่ายดี  :) ผมเคยเห็นไม้ของ Tommy Haas พี่แกพันตะกั่วทั้งด้ามเลย ไม้เลยหัวเบามากๆ


เรียบร้อยครับ ได้น้ำหนัก 339g เป๊ะ


บาลานซ์ก็ได้ 30.5cm เหมือนกับของ PT10 พอลองเอาไม้ทั้งสองอันมาเหวี่ยงๆดูก็ อื้ม! ใช้ได้ เป็นอันว่าจบครับ เดี๋ยวจะเอาไปขึ้นเอ็นลองตีดู

Sunday, March 18, 2012

รวมมิตรรีวิว Wilson Pro Staff 90 BLX, Head IG Prestige Mid/MP, Head IG Radical Pro, Prince EXO3 Tour 18x20, Babolat Pure Storm GT 2011

Rating:★★★★
Category:Other
และแล้วก็ได้โอกาสมารีวิวไม้ใหม่ๆกันอีกครั้ง เพราะหลังจากนี้จะไม่ค่อยมีเวลาแล้ว ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาต้องใช้งบลับซื้อไม้ใหม่ๆมาลอง 5 ไม้ด้วยกัน แต่ขายไปแล้ว 2 แล้วเดี๋ยวก็คงขายอีกจะได้เอาไปซื้อ Babolat ตัวใหม่ มาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ




Head IG Prestige Mid: ผมต้องไปซื้อถึงฮ่องกงเพราะเมืองไทยมีแต่กริป 4-1/4 แต่บอกได้เลยว่าตีไม้ control แบบนี้เลือกกริป 4-3/8 หรือ 4-1/2 ดีกว่าครับ รูปร่างกริปยังแบนเหมือนเดิมจนผมต้องรื้อมาปรับใหม่โดยหนุนให้สูงขึ้นมากอีก 1mm แล้วก็ใส่กริปหนัง จากนั้นก็ขึ้นเอ็นทดลองเป็น multifilament ที่ 52 lbs แล้วก็เอามาตีเลย สัมผัสแรก คือเหมือนได้ PC600 กลับมา 75-80% แล้ว ก้านไม้อ่อนปานกลาง ไม่อ่อนมากจาก control ทิศทางลำบากเหมือน Radical Pro ส่วน feel ที่ครึ่งล่างของหน้าไม้ นุ่มและดิบเหมือน PC600 แต่ด้านบนยังไม่ค่อยแน่นเหมือนต้นฉบับ จริงๆแล้ว Head IG ทุกตัวที่ผมลองมาเป็นแบบนี้หมดเลยคือ ช่วงล่างแน่น แต่ข้างบนกลวง ...ก็ตีให้แม่นๆหน่อยละกัน การตี Groundstroke ลื่นไหลดีมากทั้ง forehand และ backhand และที่สำคัญ Plow-Thru สูงกว่า Wilson PS90BLX ไม่ต้องตีเข่นก็สามารถดันลูก flat วิ่งเลียดเน็ตไปได้สบายๆ Power ผมว่าดีกว่า PC600 และ YouTek จุดเด่นคือ flat forehand ที่ผมว่า control ง่ายสุดในไม้ใหม่ล็อตนี้ที่ได้ลองมา มันตีกดเลียดเน็ตได้คงเส้นคงวาจริงๆ แต่ backhand มือเดียวต้องปรับกันหน่อยเพราะรูปร่างกริปไม่เอื้ออำนวย Volley ดีใช้ได้ ไม่มีสบัดหรือกระพือ เอาเป็นว่าใครชอบยืนตีห่างจาก baseline 1-2 เมตรเป็นประจำและชอบยิงบอลต่ำสามารถใช้ IG Prestige Mid ได้สบาย




Wilson Pro Staff 90 BLX: ภายในเดือนเดียวผมซื้อไม้ตัวนี้ 2 ครั้ง (อาการเดิมเหมือนตอน K90 เลย) ตัวแรกขายไปหลังจากตีไป 2 ชั่วโมง แต่พอไปเห็นอีกทีที่ฮ่องกงก็อดใจไม่ได้ (แพ้ความขาว) อย่างที่เคยบอกว่าใครได้ลองไม้ตัวนี้เป็นต้องเสพติดแน่นอน เพราะ Wilson ทำให้ไม้แนวคอนโทรลจ๋าๆอย่าง Pro Staff ตีได้ง่ายขึ้นกว่าพวกตัวเก่าอย่าง N90, K90 หรือแม้แต่ BLX90 อยู่หลายช่วงตัว ผมทดสอบด้วยเอ็น multi ทั้งสองครั้ง ผลทางด้าน feel ต่างกันเล็กน้อย แต่สามารถแนะนำได้เลยว่าถ้าจะขึ้น multi ให้ขึ้นตึงแบบ 58-60 ไปเลยเพราะ power ของไม้ตัวนี้เยอะพอสมควรแล้วพอเอ็นหย่อนๆจะ control ลูกลำบาก ก้านไม้อ่อนกว่า Head IG Prestige Mid ซึ่งจริงๆแล้วควรจะแข็งกว่า feel ยังนุ่มลึกเงียบๆตามสไตล์ Wilson แต่ก็ถือว่าคมชัดขึ้นกว่ากว่า BLX90 แต่ไม่คมเท่า K90 ผมรู้สึกเฉยๆกับ feel ของไม้ตัวนี้เมื่อตีเทียบกับ Head IG Prestige Mid หรือ Wilson Pro Staff 85 St Vincent ซึ่งให้ feel ที่แน่นเต็มหน้าไม้กว่า แข็งแรงกว่า และอุ้มลูกดีกว่า ผมว่า Wilson ยังกั๊กเรื่อง feel ในไม้ BLX อยู่ อาจเป็นเพราะการกระจายน้ำหนักไม้มาทางด้านล่างมากขึ้นทำให้ขาดมวลไม้ในช่วงหัวๆ พอตีโดนด้านบนเลยรู้สึกไม่แน่นเท่าไหร่ Groundstroke ถือว่าดี อย่างที่บอกว่าเป็นไม้คอนโทรลที่ตีง่าย เหมือนมีเครื่องทุ่นแรงมาช่วยตี ก็เลยไม่ค่อยได้รสชาดความมันส์เหมือน K90 ในขณะที่ Head IG Prestige Mid โดดเด่นทางด้าน flat forehand ตัว PS90BLX จะโดดเด่นในเรื่อง one-handed backhand ที่สามารถตีได้ง่ายขึ้น มีพลังขึ้น และคุมทิศทางได้แน่นอนกว่า Slice และ Volley ก็ ok ไม่โดดเด่นมาก ถามว่าไม้ตัวนี้เหมาะกับใคร จากที่ลองๆมาคิดว่า All-Court เพราะความคล่องตัวและการยิงหวังผลจากกลางคอร์ท (นึกถึง DONNAY Silver 99 เลย) ผมยังต้องทดสอบไม้ตัวนี้เพิ่มเติมที่ความตึงสูงกว่านี้แล้วจะมาอัพเดทอีกทีครับ




Head IG Radical Pro: แบบเดิมๆไม่ถ่วงเลย ค่อนข้างเบาครับ รู้สึกว่าเบากว่าตัวเก่ามากทั้งๆที่น้ำหนักเท่ากัน ตีง่ายกว่าเดิม ซวิงลมแล้วเหมือนเหวี่ยงไม้กวาด power มากมายแต่หน้าไม้ไม่ค่อย stable เท่าไหร่ (เฟรมไม่ได้เป็น box beam) ก้านอ่อนพอๆกับตัวเก่าแต่หน้าไม้เร็วกว่าตัวเก่ามากจนหลายๆครั้งผมตีแป้กขอบไม้ ไม้ตัวนี้เหมาะกับคนที่ตี forehand แล้ว backswing แบบปิดหน้าไม้ (เหมือน Murray) จึงจะคุมทิศทางได้ดีกว่า ถ้า backswing แบบเปิดหน้าไม้ (แบบ Novak) วิถีลูกมีแนวโน้มที่จะตีไม่โดน sweet spot และลูกบานออกขวา ส่วน backhand มือเดียวไม่ค่อยดีเท่าไหร่เพราะผมยังคลำหามุมตีที่รู้สึกว่า control ทิศทางอยู่ไม่เจอ ความตั้งใจแรกที่ซื้อมาคือจะเอามาลองเทียบกับ DONNAY Pro One 16x19 เพราะ spec มันใกล้กันมาก แต่พอเอาเข้าจริง มันคนละสไตล์เลย Head IG Radical Pro เหมาะกับคนที่เล่น baseline อย่างใจเย็น รอจังหวะยิงลูกหนักๆ ลากซวิงยาวๆและซวิงปิดหน้าไม้ และที่สำคัญต้องตีลูกหน้าตัวอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ DONNAY Pro One จะยิงบอลหนักๆได้หลายโอกาสกว่า เหมาะกับคนที่เดินเกมเร็ว ยิงบอลบ้าระห่ำจากทุกมุมของคอร์ท เพราะก้านไม้ที่แข็งกว่าและโครงสร้างหน้าไม้ที่นิ่งกว่า

Head IG Prestige MP: ซวิงง่ายเพราะหัวเบาขึ้นกว่าตัวเก่า แต่ก้านไม้ค่อนข้างแข็งกว่า 62RA แน่นอน volley เยี่ยมมากๆ แต่ groundstroke ยังไม่ค่อยโดนใจเท่าไหร่ power น้อยกว่าตัวเก่า (ตีติดเน็ทบ่อย) อย่างที่เคยบอกว่า feel คล้ายๆ Wilson Pro Staff แต่ถ้าตีหลุด sweet spot มาทางด้านบนของไม้จะรู้ว่ากลวงเหมือน Babolat (ปกติ Head Prestige ไม่กลวงที่ off-center นะ) ผมเดาว่าไม้ตัวนี้อาจจะเหมาะกับคนที่ใช้เอ็น poly เป็นหลัก โดยรวม Feel ไม่เหมือน Prestige MP รุ่นเก่าๆหรือ Pro Tour เลย







Prince EXO3 Tour 18x20: ไม่ได้เป็นไม่ใหม่แต่ก็น่าสนใจอยู่เหมือนกัน กับไม้นี้ผมต้องปรับตัวนานมากๆ เพราะ feel มันต่างจากไม้ตัวอื่นๆที่ผมเคยลองมาแม้กระทั่ง Prince EXO3 Rebel เองก็ตาม Feel นุ่มมาก sweet spot บานใหญ่มาก หาจุดบอดที่เหมือนลูกจะไม่เด้งแทบไม่มีเลย สัมผัสบอลที่รู้สึกแรกๆคือ "นุ่มนวล" แต่ "โคลงเคลง" เพราะไม้ตัวนี้มี จุดอ่อนตัว 2 ที่คือ ก้านอ่อน รูตาไก่ (o-port) ที่ยอมให้เอ็นเคลื่อนตัวได้มาก การกะน้ำหนักตีบอลค่อนข้างลำบาก หลายๆครั้งที่หวดเต็มที่แล้วลูกไม่ค่อยไป แต่พอตั้งหน้าไม้นิ่งๆเพื่อบล็อกลูกกลับดีดออกแรงมากซะงั้น แต่ถ้าปรับตัวได้ผมเชื่อว่าเป็นไม้ที่ตี groundstroke ได้ดีมากๆตัวนึงเลย ตอนนี้ผมได้ชุดตาไก่แบบรูมาแล้ว ไว้จะเอามาลองดูเผื่อจะกะน้ำหนักบอลได้แม่นยำขึ้น




Babolat Pure Storm GT 2011: ตัวนี้เป็นไม้แนว Aggressive All-Court แบบเดียวกับพวก Head Radical MP หรือ Wilson Blade 98 ตัวไม้มีสีสันสวยงามกัดตา ขึ้นกับเอ็น Solinco Revolution แล้วดูดีมาก frame เป็น box beam และก้านอ่อนกว่า Babolat ตัวอื่นๆ เป็นไม้ที่เอาไว้เล่นเกมบุกได้ดีมาก เพราะน้ำหนักเบา คล่องตัว sweet spot ใหญ่ ตีง่ายตามสไตล์ Babolat ยิงอัด forehand ได้หนักหน่วงดี power และ spin ดีใช้ได้ แต่พอต้องเอามาเล่นเกมรับลูกหนักๆ ไม้ตัวนี้ต้านไม่อยู่ หน้าไม้พลิกตลอด คนที่จะเล่นไม้ตัวนี้ได้ต้องมีแขนที่แข็งแรงจริงๆ เพราะไม้ทำงานประมาณ 30% และแขนคุณต้องทำงาน 70% เพื่อต้านบอลให้อยู่ feel กลวงตลอดทั้งไม้และหน้าไม้ไม่นิ่งแล้วดันก้านอ่อนอีก เบา-อ่อน-กลวง นี่มันไม่เข้ากันจริงๆ ไม้ตระกูล Pure Drive ก็กลวงเหมือนกันแต่ก้านแข็งตีดีกว่าเยอะเลยครับ

Thursday, February 2, 2012

DONNAY X-Dual Silver 99 และ เอ็นไฮบริด Solinco Tour Bite + Barb Wire

Rating:★★★★
Category:Other
ก่อนลางานเพื่อที่เอาไม้ DONNAY X-Dual Siver 99 พร้อมกับไม้อื่นๆไปให้นักกีฬาที่ Asia Tennis Academy ที่เชียงใหม่ได้ลองกัน คืนนี้ขอรีวิวไม้ตัวนี้พร้อมกับเอ็นสูตรใหม่ที่ผมพูดถึงมาสักพักนึงแล้วคือ Solinco Tour Bite + Barb Wire ซึ่งเป็นโพลีทั้งคู่ ผมได้ลอง Silver 99 มาแล้วครั้งนึงเมื่อปีที่แล้วตอนที่ทดสอบ X-Dual Gold 99 ตอนนั้นทดลองสลับไปมาสองไม้ปรากฎว่า งงไปหมด แยกข้อแตกต่างไม่ได้ เลยเลือกรีวิวแต่ Gold 99 ไปก่อน แต่คราวนี้ผมมีเวลาให้กับ Silver 99 ค่อนข้างมาก เพราะต้องทดสอบเอ็นหลายตัวบนไม้ X-Dual Silver 99 ตัวนี้



Set-Up: X-Dual Silver 99 ใน stock form จะค่อนข้างเบา ผมลองปรับน้ำหนักหลายวิธีสุดท้ายมาลงที่การเปลี่ยนเป็นกริปหนังและถ่วงหัว +3g และ ถ่วงท้าย +10g ที่ท้ายด้ามเพื่อให้รู้สึกว่าหัวไวขึ้นและมีแรงปะทะเพียงพอ สำหรับการเล่นแบบ All-Court ส่วนเอ็นที่ลงตัวก็เป็น Solinco Tour Bite + Barb Wire ที่ 52 lbs

Power: ไม้ตัวนี้เป็นไม้ที่ให้ power ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับไม้ DONNAY ตัวอื่นที่ได้ลองมา แค่กำไม้แน่นบล็อกลูก บอลก็พุ่งแล้ว ถ้าคุมบอลไม่ดีก็หลุดออกหลังไปเลย มันให้ความรู้สึกแปลกตรงที่ไม้อื่นๆต้องออกแรงเยอะเพื่อสร้าง power แต่ Silver 99 ตัวนี้ต้องออกแรงเยอะเพื่อ control ไม่ให้ลูกล้นออก (ด้วยการปั่นสปิน) อารมณ์คล้ายๆกับ Babolat AeroPro Drive ที่ใครๆก็บอกว่า power ให้มาเกิน แต่ถ้าใครรู้จักปรับเอ็นและวงซวิงก็จะสามารถควบคุมไม้ตัวนี้ได้ไม่ยาก



Groundstroke: ตามสเป็คที่ทาง DONNAY แจ้งไว้คือไม้ตัวนี้ควรจะเหมาะกับ baseline แต่พอตีเข้าจริง ผมว่ามันเหมาะกับเกมแบบ Aggressive All-Court มากกว่า ถ้าใครชอบ baseline ผมว่า X-Dual Gold 99 เหมาะกว่าเพราะก้านไม้อ่อนกว่า ความรู้สึกโดยรวมของ X-Dual Silver 99 จะคล้ายๆกับ X-Orange 99 ที่เหมาะกับการเล่นเกมบุก ปิดเกมเร็วๆ แต่ Silver จะให้ power ที่เยอะขึ้นและ sweet spot ที่กว้างขึ้น ตีง่ายขึ้น ความรุนแรงของเกมเลยมีมากขึ้น เมื่อขึ้นเอ็น Solinco Tour Bite และ Barb Wire เข้าไปแล้วจะให้การคอนโทรลบอลที่ง่ายและแม่นยำขึ้น การขึ้นยิงลูกจากกลางคอร์ทถือว่าเป็นจุดเด่นของไม้ตัวนี้ คือได้ทั้งความรุนแรง และทิศทาง ส่วน backhand มือเดียวสามารถตีได้ง่ายกว่า X-Orange 99 และคงเส้นคงวา แถมลูกมีติดสปินไปในตัวด้วย

Feel: เหมือนกับ X-Dual ตัวอื่นๆคือ นุ่ม และค่อนข้างเงียบ แต่ที่สำคัญคือตีสบายแขนมาก แรงสะท้านน้อยมาถึงข้อศอกน้อย

Spin: ไม้เบา ก้านแข็งปานกลาง (65 RDC) และเอ็น 16x19 คือสเปคของไม้ Spin-Oriented อยู่แล้ว ถ้าใครเอาไปตีแฟลตอย่างเดียวถือว่าเสียของครับ :) Spin ผมว่าปั่นได้ดีไม่แพ้ Babolat AeroPro Drive แต่แรงส่งอาจจะไม่ดีเท่า แต่ถ้าเอาคะแนน control มารวมด้วย ก็พอฟัดพอเหวี่ยง

Volley & Stability: ใช้ได้ครับ แต่ก็ไม่มีอะไรโดดเด่นเหมือนการเข้ายิงบอลจากกลางคอร์ท ความเสถียรของหน้าไม้สูง ไม่ต้องถ่วงเพิ่มที่ 3 และ 9 นาฬิกา

Slice: ลูกค่อนข้างเหิน ผมยังปรับตัวเข้ากับ Silver ในเรื่อง Slice ไม่ได้

บทสรุป: ไม้ DONNAY X-Dual Siver 99 เป็นไม้กึ่ง power ที่ให้คอนโทรลดีหากได้เอ็นที่เหมาะสม แนะนำให้เป็น hybrid เพื่อ stringbed ที่เกาะลูกได้ดีกว่า เหมาะกับ 1) ผู้ที่เล่นเกม Aggressive All-Court มากกว่าที่จะเป็น Baseline 2) ผู้ที่บ้าพลังแต่กลัวเจ็บศอกกับไหล่ 3) ผู้ที่ชอบตีสปินหรือกึ่งแฟลตกึ่งสปินเป็นหลัก ถ้าตีแฟลตอย่าเดียว Platinum 99 จะเหมาะกว่า



ส่วนเอ็นไฮบริด Solinco Tour Bite + Barb Wire ผมมี feedback สั้นๆประมาณนี้ครับ พอดีมีคนถามมาในเมลว่ามันแตกต่างจาก Solinco Tour Bite + Vanquish ยังไง เลยขอตัดแปะมาตอบละกัน

Tour Bite + Barb Wire มันจะให้ feel นุ่มและเฟิร์มในเวลาเดียวกัน ผมเอามาขึ้นกับ Silver 99 (ถ่วงหัว +3g และท้าย +10g) แล้วยิงบอลจากกลางคอร์ทมันมาก แบ็คแฮนด์มือเดียวให้สปินดีลูกวิ่งถึงท้ายคอร์ทแบบพอดีๆ จุดเด่นคือ control ครับ บอลเกาะ Stringbed ดีกว่า Tour Bite ล้วนๆ ลูกไม่ได้พุ่งออกไปทันทีทันใด ช่วยในเรื่องการคอนโทรลของไม้แนวกึ่ง power ที่น้ำหนักเบาอย่าง Silver ได้เยอะ น่าจะเหมาะกับพวก Head Radical MP ด้วยเช่นกัน หรือไม้อะไรก็ตามที่ต้องเร่งหัวไม้เร็วๆเพื่อสร้าง power Feel เป็นคนละแบบกับ Tour Bite + Vanquish ที่นุ่มลึก (คล้ายๆกับ feel ของไม้ Wilson Pro Staff ที่ขึ้นเอ็น gut ไว้) เหมาะกับการเล่นแบบเน้นวางทางบอลหรือ serve & volley มากกว่า