Pages

Thursday, December 26, 2013

รีวิว Head Graphene Radical Pro




Merry Christmas & Happy New Year ครับ สองเดือนที่ผ่านมาได้ลองไม้ใหม่ๆหลายตัวจากหลายค่าย หนึ่งในนั้นคือ Head Graphene Radical Pro ซึ่งผมเองก็ตั้งความคาดหวังไว้สูงเหมือนกันเพราะว่าได้ลองตี Radical Pro มาทุกตัวแล้วก็รู้สึกว่ามันจะเข้าท่าขึ้นเรื่อยๆ ขอย้อนอดีตไปนิดนึง

- YouTek Radical Pro: หน้าไม้ใหญ่ (100) ก้านอ่อน ตีบอลได้หนักหน่วงกว่าไม้อื่นๆในน้ำหนักเดียวกัน แต่ไม้ไม่คล่องตัวเลย
- IG Radical Pro: หน้าไม้เล็กลง (98) power ลดลงนิดนึง ความคล่องตัวดีขึ้น แต่ก้านยังอ่อนอยู่ คอนโทรลทิศทางยากกว่าไม้ก้านแข็ง
- TGT 260.2: เมื่อกลางปี 2013 ผมได้ลองไม้ pro stock ของ Tomas Berdych แล้วรู้สึกชอบมากๆเพราะมันมีทุกอย่างครบเครื่อง ยิงบอลหนักหน่วงและคล่องตัวในเวลาเดียวกัน ตอนนั้นคิดว่าในที่สุด Head ก็สามารถก็สามารถทำไม้ midplus 16x19 ออกมาได้ "เข้าท่า" แล้ว (ที่ผ่านมาผมไม่ชอบไม้ midplus 16x19 ของ Head เลยเพราะเหมือน feel ไม่แน่นและหน้าไม้ไม่นิ่ง) และก็คาดหวังว่า Head จะเอา TGT 260.2 มาเป็นต้นแบบของ Graphene Radical Pro

เมื่อผมได้ลอง Graphene Radical Pro ครั้่งแรก ผิดคาดอย่างแรงเพราะ feel มัน "กลวง" กว่าที่จะเป็น Head ที่เราเคยรู้จักกัน โดยเฉพาะตรงช่วงกลางๆไม้ที่เนื้่อกราไฟต์ถูกกระจายให้ไปลงที่หัวกับด้ามไม้ ทำให้รู้สึกว่าก้านไม้กลวงและบาง ตีบอลแล้วเหมือนไม้จะหักคามือยังไงก็ไม่รู้ จะว่าไปแล้วมันก็เกือบจะกลวงเหมือน Babolat Pure Drive แต่ถ้าทำใจเรื่อง feel ได้ผมว่า Graphene Radical Pro มีเรื่องพาวเวอร์และคอนโทรลที่น่าสนใจครับ

พาวเวอร์: G-Radical Pro ให้พาวเวอร์กำลังดี ตีง่าย แต่ต้องปรับตัวนานอยู่เพราะว่าการกระจายน้ำหนักของไม้ทำให้พาวเวอร์ในแต่ละจุดของหน้าไม้ G-Radical Pro ต่างจากไม้อื่นๆ ผมขอแบ่งเรื่องพาวเวอร์ออกเป็น 2 โซน

1) โซนกลางหน้าไม้: ด้วยความที่ก้านไม้แข็งขึ้นแต่ข้างในกลวงมากทำให้พาวเวอร์น้อยกว่า Radical Pro ตัวเก่าทั้งสองตัว ใส่เต็มวงแล้วลูกไม่ค่อยปลิ้นออกหลัง ถ้าตีบอลหนักๆแม่นๆ ไม้ตัวนี้ใช่เลย
2) โซนใกล้หัวไม้: ปกติแล้วไม้ทั่วๆไปจะมีพาเวอร์ที่ลดลงถ้าตีหลุด sweet spot แต่ไม้ G-Radical Pro จะยังให้พาเวอร์ในโซนใกล้หัวไม้ได้ดีกว่าไม้อื่นๆ

คอนโทรล: เลี้ยวบอลซ้ายขวาได้ง่ายเพราะก้านไม้แข็งขึ้นกว่าตัวเก่า แถมพาวเวอร์ในโซนกลางไม้ก็ไม่ได้ล้นเวอร์ก็ทำให้การคอนโทรลบอลทำได้ง่ายกว่า Radical Pro ตัวเก่าๆ อัดแรงๆได้มั่นใจกว่า Radical Pro ตัวเก่า

ความนิ่งของหน้าไม้: กราวด์สโตรกถือว่าดีครับ หน้าไม้แข็งเฟิร์มดีไม่พลิกไปมา แต่พอเอามาวอลเล่ย์แล้วรู้สึกว่าหน้าไม้ไม่ค่อยนิ่ง วางบอลไม่คมเท่า Babolat Pure Strike Tour ที่ผมก็ทดสอบในเวลาเดียวกัน

ความคล่องตัว: ทำใจนิดนึงครับ การกระจายน้ำหนักแบบลงหัวท้ายมันช่วยเรื่องพาวเวอร์ก็จริงแต่ก็ทำให้หัวไม้หน่วงอย่างรู้สึกได้ชัดเจน เล่นตอนแรกๆ ยิงมันส์ ยิงสนุก แต่พอนานๆเข้ารู้สึกว่าไม้หน่วงขึ้นเรื่อยๆ ถ้าต้องเล่นกับคนที่ตีเร่งสปีดบอลเร็วๆจะลำบาก ปกติผมตีไม้หนักๆอย่าง 320-330g (ไม่รวมเอ็น) ได้สบายถ้าเป็นไม้หัวเบาเฟรมบาง แล้วจะถ่วงปรับแก้ G-Radical Pro ให้หัวไม้เร็วขึ้นล่ะทำได้มั๊ย? ผมว่ายากครับเพราะน้ำหนักที่มาลงหัวไม้มันเยอะเกินแก้ ตอนที่ผมทดลอง Graphene Speed Pro ก็ลองถ่วงหลายแบบเหมือนกัน ไม่เวิร์คเลย

บทสรุป: Head Graphene Radical Pro แตกต่างจาก IG Radical Pro ตัวเก่ามากมาย feel คล้ายๆกับ Babolat Pure Drive แต่มีคอนโทรลที่ดีกว่า ไม้ตัวนี้เหมาะกับคนที่ต้องการไม้ตีง่าย พาวเวอร์กลางๆ ตีแนว aggressive baseliner เป็นหลัก แต่ถ้าคนที่ติด feel แน่น-ดิบ ของไม้ Head รุ่นก่อนๆ แนะนำให้ไปหารุ่น IG มาใช้ดีกว่าครับ

Friday, November 1, 2013

First Strike Review: Babolat Pure Strike Tour 2014



Pure Strike Tour 2014 เป็นไม้ที่แหกกฎของ Babolat อย่างสิ้นเชิง จากที่เราเคยเห็นเมื่อก่อนมีแต่ไม้ทรงหนาๆแข็งๆกลวงๆอย่าง Pure Drive หรือ Aero Pro Drive หรือบางลงมาหน่อยเช่น Pure Storm ที่เป็น box beam ก้านอ่อนแต่โครงสร้างข้างในก็กลวงอยู่ดี ปีที่ผ่านมา Babolat ตัดสินใจเลิกผลิตไม้ตระกูล Pure Storm และ Aero Storm แล้ว ส่วนนึงน่าจะเป็นที่ประสิทธิภาพไม้ control ของ Babolat ยังห่างจากคู่แข่งอย่าง Wilson และ Head ซึ่งครองตลาดไม้ control-oriented midplus มานานและนี่ก็เป็นที่มาของไม้ Pure Strike

ตัวไม้ Pure Strike Tour มีความหนาประมาณ 21-23mm และมีความแข็งของก้านประมาณ 70RA (เวลาขึ้นเอ็นแล้วอาจจะลดเหลือ 67-68) แต่เฟรมแคบลู่ลมดีกว่าไม้ตัวก่อนๆที่ Babolat เคยมีมา และที่สำคัญ Pure Strike Tour เสริมโฟมด้านในเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนด้วย สีสันไม่ต้องพูดถึง เข้มดุดัน ดูแล้วเหมือนสีรถแข่ง

Pure Strike Tour (18x20) Specification
 - Head size: 98 sq.in
 - Unstrung weight: 320 g / 11.3 oz
 - Balance: 9 pts HL
 - Stiffness: 70 RA
 - Beam thickness: 21-23-21

First Hit: หยิบไม้มาตีช่วง 10 นาทีแรกรู้สึกว่าไม้ไม่ค่อยมี power ตีติดเน็ตบ่อยมาก แต่พอเริ่มปรับตัวเข้ากับไม้ได้ก็เริ่มคลำหา power เจอและเห็นจุดเด่นของ Pure Strike Tour ในเรื่องของความไวของหน้าไม้ การคอนโทรลบอล และ feel จริงอยู่ที่น้ำหนักไม้ค่อนข้างเยอะ แต่ด้วยความลู่ลมของเฟรมทำให้สามารถซวิงได้ลื่นพอสมควร ก้านไม้แข็งช่วยคอนโทรลทิศทางบอลได้ยอดเยี่ยม นี่เป็นไม้ Babolat ที่คอนโทรลดีสุดเลยก็ว่าได้ ใครตีไม้ Wilson Six.One 95 มาก่อนจะเข้าใจดีว่าความแข็งของไม้ช่วยเรื่องคอนโทรลทิศทางได้อย่างยอดเยี่ยม

Feel: นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องพูดถึง เพราะเหมือน Babolat ได้เปลี่ยนสูตรใหม่ทั้งหมด ที่ผ่านมาไม้ Babolat แต่ละตัวที่ผมได้ลองจะมี feel กลวงๆคล้ายๆกันแม้แต่ Pure Storm Ltd ที่เป็นไม้คอนโทรลจ๋าของ Babolat ก็ยังรู้สึกว่าไม่แน่นเท่าไหร่ แต่ Pure Strike Tour ตัวใหม่มีเฟรมที่แคบลงทั้งที่หัวไม้และก้านไม้ แถมยังเสริมโฟมด้านใน โฟมที่ใช้เป็นโฟมที่มีความหนาแน่นปานกลางเหมือนกับที่ Angell ใช้อยู่ (Babolat กับ Angell มาจากโรงงานเดียวกัน) เวลาตีอัดแฟลทแรงๆจะให้ความแน่นเต็มคล้ายๆกับ Wilson Blade 98 หรือ Angell TC95 สรุปคือ feel ของ Pure Strike "แน่น แข็ง แต่ไม่กระด้าง"



Stability: คนชอบ volley หรือ drive volley จะต้องชอบ Pure Strike Tour เพราะหน้าไม้นิ่งมาก ส่วนนึงมาจากการออกหัวไม้ที่เป็นเอกลัษณ์ กับอีกส่วนนีงมาจากน้ำหนักที่กระจายมาที่หัวไม้มากพอสมควร ซึ่งส่วนผสมทั้งสองอย่างมันลงตัวพอดี เหมือนว่าไม้จะหัวหนักแต่ก็ยังซวิงได้เร็วเหมือนไม้หัวเบา ไม้เทนนิสที่ออกมาในปี 2013 ส่วนใหญ่จะถ่ายน้ำหนักมาทางท้ายด้ามเยอะจนหัวไม้เบาโหวงซึ่งทำให้ซวิงง่ายก็จริงแต่แรงปะทะบอลและความนิ่งของหน้าไม้ก็ตกลงไปด้วย สรุปคือ Babolat Pure Strike เป็นไม้ที่ "ซ่อนน้ำหนักหัวไม้ดี หน้าไม้ไวและนิ่ง"

Power & Sweet Spot: ตำแหน่ง sweet spot อยู่ลงมาทางครึ่งล่างของหน้าไม้และ power ค่อนข้างน้อยตามสไตล์ไม้คอนโทรล ถามว่าวงซวิงแบบใหนจะเหมาะกับไม้แบบนี้ ...ได้หมดครับ ไม่ว่าจะลากเต็มวง+ซวิงช้าก็สามารถดันลูกไปถึงหลังได้เพราะไม้มี swing weight มากพอ หรือว่าจะลากครึ่งวง+ซวิงเร็วก็ได้เช่นกันเพราะไม้ตัวนี้ให้คอนโทรลที่ยอดเยี่ยม อัดแล้วไม่ค่อยปลิ้นออก แต่เนื่องจากไม้ตัวนี้มี power น้อย การมีทักษะการถ่ายน้ำหนักที่ดีจะช่วยให้ตีบอลได้มีประสิทธิภาพขึ้นมาก ถ้ายืนปักหลักตีนิ่งๆก็ไปใช้ไม้ กึ่ง power อย่างพวก Babolat Pure Drive หรือ DONNAY Formula 100 จะดีกว่าครับ

Saturday, April 20, 2013

เปรียบเทียบ Solinco Tour Bite Soft กับเอ็นโพลีตัวอื่นๆ



พอดีมีคนถามมาให้ช่วยรีวิว Solinco Tour Bite Soft บอกตรงๆผมตีได้ไม่นานก็เปลี่ยนเพราะผมชอบเอ็นแข็งนิดๆ กัดลึกๆ อย่าง Tour Bite 19 มากกว่า แต่โดยรวมเป็นเอ็นใหม่ที่มีรูปร่างเหมือนกับ Tour Bite ปกติและมีความนุ่มกว่าเอ็นโพลีหลายตัวที่ผมลองมา ท๊อปสปินไม่ต้องพูดถึง สปินดีมากๆ เอ็นค่อนข้างเด้งกว่าตัว Tour Bite ปกติ ถ้าจะให้เทียบผมว่านุ่มคล้ายๆกับ Weisscannon Mosquito Bite แต่ให้การกัดบอลที่ดีกว่า ความดิบมันส์ไม่เท่ากับ Tour Bite 19 เอ็นตัวนี้เหมาะกับคนที่ตีเอ็น soft poly เส้นกลมมาก่อนชอบ feel แบบเด้งๆ แล้วต้องการ spin เพิ่มจากวงซวิงเดิมครับ 

นักเทนนิสเยาวชน 10-14 ปีเริ่มหันมาใช้ Tour Bite Soft กันมาก แต่ถ้าเป็นเด็กโตขึ้นมาหน่อยหรือแข่งอาชีพผมแนะนำ 16L อย่างเดียวเลย สังเกตมั๊ยครับว่านักเทนนิสระดับโลกใช้เอ็นเบอร์ 16L หรือ 1.25 กันเยอะมาก ผมเชื่อว่า 16L ให้ส่วนผสมของ feel power และ control ที่ลงตัวที่สุด แต่หลักๆน่าจะเป็นเรื่อง control ถ้าใครที่ตีบอลหนักๆแล้วใช้เอ็นเบอร์ 16 หรือ 17 มาก่อน พอเปลี่ยนมาเป็น 16L แล้วจะรู้เลยว่ามันเอาอยู่

 

ตารางข้างล่างนี่เป็นผลทดสอบจาก Tennis Warehouse เมื่อเทียบกับเอ็นดังๆ เช่น Babolat RPM Blast, Luxilon ALU Power/Rough, หรือแม้แต่ Solinco Tour Bite ด้วยกันเอง จะพบว่า Tour Bite Soft ให้ความนุ่มสูงกว่าและศักยภาพสปินสูงกว่า ผมเทียบกับเอ็นตัวอื่นๆด้วยเช่น Dunlop Black Widow, Topspin Cyber Blue, Tourna Big Hitter Blue Rough, Techifiber Black Code แต่มันก็ให้ผลไปในทางเดียวกันคือ Tour Bite Soft นุ่มกว่าและสปินดีกว่า

- Stiffness: คือความแข็งหน่วยเป็นปอนด์/นิ้ว เลขยิ่งเยอะยิ่งแข็ง อ่อนสุดคือเอ็น natural gut มี stiffness ประมาณ 80.6 (Wilson Natural) และแข็งสุดคือ 286.9 (Luxilon 4G) เอ็นมัลติจะอยู่ประมาณ 140-170 ถ้าเป็นโพลีก็ 200+ ส่วน Tour Bite Soft 16 อยู่ที่ 184 ครับ

- Energy Return (%): คือ power ยิ่งใกล้ 100 ยิ่งสูญเสียพลังงานน้อย power ยิ่งดี

- Spin Potential: เป็นค่าบอกศักยภาพสปินซึ่งเค้าจะวัดตัวเลขความเสียดทานระหว่างเอ็นกับบอล และความเสียดทานระหว่างเอ็นกับเอ็น เอ็นที่สปินดีควรจะมีความเสียดทานระหว่างเอ็นกับบอลสูง (ฝืดกับบอล) แต่ความเสียดทานระหว่างเอ็นกับเอ็นต่ำ (ลื่นกับเอ็น) เอ็น gut หรือ multi ก็จะอยู่ที่ 1-3 โพลีทั่วไปตัวเลขจะอยู่ประมาณ 2-5 ส่วน Tour Bite Soft อยู่ 6.9



ปล. ทั้งหมดนี่เป็นผลทดสอบจากห้องแล็บ อาจจะไม่สะท้อนการใช้งานจริงได้ทั้งหมด สุดท้ายผมแนะนำให้ลองด้วยตัวเองดีกว่าครับ

Saturday, March 9, 2013

Mini Review: Wilson Steam 99s & Wilson Blade 93 2013



ปีนี้โชคดีมากซื้อไม้มา 6 อันมีตีไม่เข้ามือแค่อันเดียว (Head Graphene Speed Pro) นี่เป็นอีก 2 ไม้ที่ผมมองว่า "น่าเล่น" มาจากค่าย Wilson ทั้งคู่ เมื่อคืนเอาไปลองมาแล้วครับ

Wilson Blade 93 2013: ตีง่ายกว่า K Blade Tour เหมือนกับเป็นคนละไม้ ผมขึ้นเอ็น Solinco Tour Bite 19 ให้กับไม้ทั้งคู่แล้วเอามาตีเทียบกัน ก้านของ Blade 93 2013 แข็งกว่า sweet spot ใหญ่โต แต่ให้สัมผัสบอลที่นุ่มนวลให้ feel ในการตีบอล "clean" กว่าตัวเก่าแรงสะท้านที่ส่งมาถึงมือน้อย เหมือนกับ Wilson จะปรับ feel ไม้รุ่นใหม่ๆมาให้เหมาะกับเอ็น poly มากขึ้น (ผมว่า Wilson มาถูกทางแล้ว) ลองเปิดท้ายด้ามเช็คดูปรากฎว่า Wilson เปลี่ยนโฟมที่ใช้ให้แน่นขึ้นละเอียดขึ้นคล้ายๆกับโฟมของ DONNAY บาลานซ์ของไม้ตัวนี้หนักเทมาท้ายด้ามแต่หัวไม้ก็ยังมีน้ำหนักที่มากพอที่จะให้แรงปะทะที่ดีและหน้าไม้ที่นิ่ง power ดีกว่าเดิมมาก ในขณะที่ KBlade Tour น้ำหนักอยู่แถวกลางไม้ซะเยอะทำให้ซวิงช้าและหนักกว่า ด้วยความที่ก้านแข็งขึ้นบวกกับความคล่องตัวทำให้สามารถเล่นแบบสะบัดข้อมือได้ดีกว่าเดิมครับ ข้อเสียคือกริปไม่ได้เป็นหนังเหมือนรุ่นเก่าๆ



Wilson Steam 99s: เป็นไฮไลท์ของคืนนี้ มันเป็นไม้ที่ตีง่ายไม่ต้องปรับตัวนาน Steam 99s ตีสปินได้ประทับใจมากกว่า Babolat AeroPro Drive 2013 และตีสวน groundstroke หนักๆได้ว่องไวคล่องตัวเหมือน Yonex VCore Tour 97 เชื่อแล้วว่า Spin-Effect Technology ของ Wilson ตัวนี้เวิร์คจริงๆ น้ำหนักไม้ Steam 99s ถูกกระจายมาอยู่ท้ายด้ามในขณะที่ AeroPro Drive จะมีน้ำหนักอยู่ที่หัวไม้เยอะกว่า ทำให้ความคล่องตัวโดยรวมของ Steam 99 เป็นต่อ AeroPro Drive มากพอสมควร ใครที่เคยสัมผัสความคล่องตัวของไม้ Wilson ตระกูล Pro Staff มาก่อนจะเข้าใจดี แต่ความนิ่งของหน้าไม้ยังเป็นรอง AeroPro Drive

จุดเด่นอีกอย่างอยู่ที่ string pattern 16x15 ที่ให้ความรู้สึกว่าเอ็นแหวกออกตอนกระทบบอลมากกว่าไม้ตัวอื่นๆ หน้าไม้อุ้มบอลและกัดบอลดีมากๆ ตอนตีบอลว่าเหมือนบอลมันโดนดูดจมอยู่บนหน้าไม้นานขึ้นก่อนที่จะถูกดีดออกไป หน้าไม้ไม่มีอาการกระด้างหรือสะท้านแต่อย่างใด แต่เวลาตีแฟลตบอลจะมีอาการเหินกว่าไม้ทั่วไปต้องพยายามกดหน้าไม้ไว้ สุดท้ายตั้งใจจะตีแฟลตบอลก็ติดสปินอยู่ดี power ดีและ control ยังได้อยู่ ยิงอัดจากท้ายคอร์ทหรือกลางคอร์ทมันส์มาก หน้าไม้ 99 ไม่ได้สร้างปัญหาให้กับแบ็คแฮนด์มือเดียว แถมตีแบ็คแฮนด์สปินได้ง่ายมากๆด้วย จะว่าไปแล้วไม้ Steam 99s ให้ feel ที่แน่นนุ่มนวลคล้ายๆ Prince EXO3 Tour มากๆ (ผมจับ feel ของไม้ Prince ไม่ได้ดีเท่า Wilson) และไม่มีความรู้สึกกลวงถึงแม้ว่าไม้จะกลวงครับ ไม้ตัวนี้อาจจะไม่เหมาะกับคนที่ตีท๊อปสปินดีอยู่แล้ว แต่น่าจะเหมาะกับคนที่ตีแฟลตอยู่แล้วอยากมาเริ่มตีแนวท๊อปสปินดูบ้างครับ

Saturday, February 9, 2013

Mini Review: Volkl Organix 10 Mid



ลองตีมา 3 ครั้งแล้วครับ X10mid มี swingweight ที่สูงกว่า PB10mid แรงปะทะดี ตีกราวด์สโตรกได้ดีมากพอๆกับไม้ midplus (จริงๆแล้วผมไม่รู้สึกว่ามันเป็นไม้หน้าเล็กเลย) แถมลื่นไหลกว่าด้วย plow-thru สูงตีบอลแล้วเหมือนแรงต้านน้อยลงกว่าตัว PB10mid จุดเด่นเรื่องความคล่องตัวยังมีอยู่ถึงแม้ว่าหัวไม้จะหนักขึ้น หัวไม้เร็วใช้ได้แต่ไม่เท่า PB10mid รูปร่างไม้แบบนี้เฟรมบางแบบนี้ผมว่ายังอัพน้ำหนักได้อีกเยอะโดยที่ความคล่องตัวยังอยู่เหมือนเดิม ก้านไม้แข็งกว่า PB10mid นิดหน่อยเพราะเฟรมหนากว่า PB10mid 0.5mm และรูปร่างเฟรมอ้วนกลมขึ้นเล็กน้อย แต่พอเอามาตีแล้วประกอบกับ balance ที่เพิ่มมาทางหัวทำให้รู้สึกว่าไม้ยังอ่อนอยู่ ทีแรกก็คิดว่า power จะน้อยแต่ปรากฎว่าส่งลูกไปถึงท้ายคอร์ทได้ในวงซวิงที่สั้นกว่าทั้งโฟร์แฮนด์และแบ็คแฮนด์มือเดียว Feel ไม้นุ่มนวลสไตล์ Volkl แต่ความดิบคมลดลงจาก PB10mid ตอนตีวอลเล่ย์ feel ของ PB10mid ดีกว่าแต่ X10mid ลูกพุ่งลึกกว่าและหน้าไม้นิ่งกว่า

สิ่งที่ผมคิดว่า Volkl พยายามปรับปรุงไม้ตัวนี้คือเรื่องของ power เป็นหลัก ในขณะที่ผู้ผลิตรายอื่นเลือกการเพิ่ม stiffness หรือความแข็งของไม้เพื่อเพิ่ม power แต่ Volkl เลือกที่จะคง stiffness ให้อยู่ที่ 59RA เท่าเดิมแต่เปลี่ยนบาลานซ์ให้มาที่หัวไม้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่ม swingweight และ power ซึ่งผมคิดว่า Volkl มาถูกทางแล้ว ตอนตีบอลหลุด sweet spot ยังให้ power ดีอยู่ซึ่งไม้รุ่นใหม่ๆที่หัวเบาอย่าง Wilson PS90BLX หรือ Head IG Prestige Mid ทำแบบนี้ไม่ได้

ข้อเสียอย่างเดียวคือกริปที่แบนและเล็กกว่าเดิมประมาณ 1 เบอร์ ไม้สไตล์นี้มันต้องกริปแบบ Wilson โดยรวมๆไม้นี้ยังคงเป็นไม้ All-Court ที่มีความคล่องตัวสูงและมี power ที่สูงขึ้นสามารถขยับมาตีแนว baseline แบบ

สิ่งที่ผมอยากจะปรับเพิ่มเติมเกี่ยวกับไม้ตัวนี้คือ 1) ปรับรูปร่างกริปให้คล้าย Wilson Pro Staff 2) เปลี่ยนเอ็นเป็น Solinco Tour Bite 19 หรือ 20 เพื่อเพิ่มสปินให้กับวงซวิงสั้นๆ

Sunday, February 3, 2013

First Hit: Head Graphene Speed Pro



หลายๆคนอาจจะกำลังสนใจไม้ใหม่ของ Novak อยู่แล้วก็รอรีวิวภาษาไทยของไม้ Head Graphene Speed Pro ใน Tennis Warehouse เองมีวีดีโอรีวิวเป็นภาษาอังกฤษแล้วผลออกมาเป็นไม้ที่ดีมาก ในกระทู้ Talk Tennis ก็เริ่มมีคนเข้ามาพูดถึงไม้ตัวนี้เยอะขึ้น http://tt.tennis-warehouse.com/showthread.php?t=452331 แต่เท่าที่อ่านมายังหาข้อสรุปอะไรไม่ได้ เจ้าของกระทู้เองก็บอกว่าไม้ตัวนี้มีดีหลายอย่างแต่สุดท้ายก็ขายทิ้่งเพราะไม้รุ่นเก่าเข้ามือกว่า คนที่ซื้อไปเอาไปตีก็บอกว่าไม้ดีแต่ยังมีปัญหาอยู่สองสามอย่าง ดูท่าทางเค้าก็พยายามจะชอบให้ได้

ทีนี้มาถึงผมบ้าง สั้นๆเลย "ไม้นี้ดราม่าเยอะ" ได้มาวันแรกผมขึ้นเอ็น Solinco Tour Bite 17 ที่ 48 ปอนด์ (เพราะเอ็นมันถี่เหลือเกิน) แล้วพัน Tournagrip 2 ชั้น (เพราะ FBT ไม่เอากริป 4-3/8 เข้ามา) แล้วเอาไปลองตี 10 นาทีแรกด้วยวงซวิงแบบแฟลตๆลากไม้สั้นๆ ผลคือ ...หงุดหงิดครับ! power เดี๋ยวน้อย เดี๋ยวเยอะ หา sweet spot ไม่เจอ คอไม้อ่อนช่วงกลางๆซึ่งเป็นเรื่องที่ดีแต่หัวไม้ไม่ค่อยแข็งทั้งๆที่ควรจะแข็งโดยเฉพาะไม้หน้าใหญ่ เวลาตีบอลเลยเหมือนหน้าไม้สบัดโยกเยกไปมา ไม่นิ่งเลย ในเวลาเดียวกันผมก็ลองไม้ Dunlop F3.0 Tour ที่ขึ้นเอ็น spec เดียวกันด้วย ไม้ F3.0 Tour ตีง่ายกว่าแน่นกว่าอย่างเห็นได้ชัด แต่พอผมเอาไปให้เพื่อนอีกคนซึ่งมีวงซวิงยาวกว่ามาตีบอกว่าไม้ Speed Pro ตัวนี้ตีดี ชอบเลย ผมเลยต้องมาปรับวงตัวเองดูอีกทีโดยที่เปิดหน้าไม้ตีมากขึ้น ลากยาวขึ้น มันก็ตีดีขึ้นจริงๆ บอลไปแรงขึ้นลึกขึ้น แต่จะให้ตีลากยาวๆแบบนี้ตลอดไม่ไหวแน่ๆ

ผมเดาว่าไม้ตัวนี้มีปัญหาที่หัวไม้ที่อ่อนเกินไป เท่าที่ลองตีดูในวันแรกหัวไม้บริเวณ 10-2 นาฬิกาน่าจะมีน้ำหนักดีอยู่แล้ว เลยขอลองถ่วงไม้เพิ่ม 9g ที่บริเวณ 3 ยาวไปถึง 6 และ 9 นาฬิกาเพิ่มความนิ่งของหัวไม้ช่วงล่างแล้วก็เปลี่ยนเอ็นเป็นไฮบริดระหว่าง Polyfibre Black Venom กับ Volkl Classic Synthetic Gut ที่ 48 กับ 52 ปอนด์ ผลคือไม้นิ่งมาก แต่ power ยังแกว่งๆอยู่ แล้วหัวไม้ก็หนักเกินที่จะซวิงไหว สุดท้ายก็ตัดเอ็นทิ้งแล้วก็รื้อตะกั่วออกหมดเลย

มาถึงตอนนี้ผมคิดว่าหัวไม้ Speed Pro คงจะมีปัญหาจริงๆ หัวไม้อ่อนๆถ้าขึ้นเอ็นหย่อนๆแล้วจะหาความนิ่งกับ sweet spot ได้ยากกว่าไม้หัวแข็ง ผมเลยต้องงัดสูตรไม้ตายออกมาใช้คือ "โพลีเส้นใหญ่ขึ้นตึง" ผมขึ้น Solinco Barb Wire 16 ที่ 54 ปอนด์ ถ้าไม้ 18x20 ปกติผมไม่ขึ้นเอ็น poly เกิน 48-50 ปอนด์เพราะเอ็นจะยืดเร็ว แต่ตอนนี้ไม่มีทางเลือก ผลปรากฎว่าแก้ปัญหาได้เกือบหมด ตอนนี้หน้าไม้มี sweet spot ที่ชัดเจนแล้ว ตีบอลได้นิ่งและแน่นมากโดยที่ไม่ต้องถ่วงเลย แต่เมื่อเย็นผมลองถ่วงเพิ่มที่ 3 และ 9 นาฬิกาอีก 6g แล้วยิงบอลได้หนักหน่วงกว่าตอนไม่ถ่วงเยอะพอสมควรในขณะที่ยังซวิงไหว น้ำหนักไม้รวมเอ็นอยู่ประมาณ 350g

สรุป: ไม้ G-Speed Pro เป็นไม้ที่ไม่เหมือนกับไม้ Head ตัวอื่นๆที่ผ่านมาเพราะการกระจายน้ำหนักหัว-ท้าย (polarization) ทำให้ไม้มีจุดอ่อนในช่วงล่างของหน้าไม้ ถ้าใครคิดจะซื้อ G-Speed Pro มาใช้ผมแนะนำให้ไปยืมไม้เพื่อนมาลองตีก่อน หรือถ้าจะซื้อเลยก็เลือกใช้เอ็นเส้นใหญ่แล้วขึ้นตึงเกิน 54 ปอนด์ไปเลยครับ

Mini Review: Babolat Aero Pro Drive 2013

เมื่อวันศุกร์เพิ่งได้ลอง Babolat AeroPro Drive 2013 เป็นครั้งแรก พอดีกับช่วงที่ Solinco ส่งเอ็นใหม่มาให้ทดสอบคือ Solinco Outlast 16 Neon Green ทั้งเอ็นและไม้สีเข้ากันมาก ดูเด่นมาแต่ใกล ผมได้ลองไม้ตัวนี้แค่ประมาณ 30 นาทีเพราะใช้เวลาส่วนใหญ่ทดลองไม้ Head Graphene Speed Pro ไปซะเยอะ ไม้ตัวนี้เป็นไม้ที่ตีง่ายมาก มากจนไม่ค่อยท้าทายเท่าไหร่ feel ก็ยังโปร่งๆตามสไตล์ Babolat เสียงตีบอลเมื่อเทียบกับไม้ Speed Pro หรือ F3.0 Tour บอกได้ชัดเจนว่าข้างในกลวง แต่ความกลวงไม่มากเหมือน Babolat Pure Drive 2012



ตามสเปค Babolat AeroPro Drive 2013 หัวหนักกว่าและก้านแข็งกว่าเดิมนิดหน่อย (ไม้ใหม่ๆในปี 2013 ก็ปรับบาลานซ์มาทางหัวไม้มากขึ้นแล้วก็ก้านแข็งขึ้นด้วย) ผมไม่ค่อยรู้สึกเท่าไหร่เพราะไม่มีไม้ตัวเก่ามาเทียบ แต่โดยรวมๆ APD 2013 ก็ยังเป็นไม้ที่เบา คล่องตัว และแข็งมาก ซึ่งก็ทำให้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีของไม้แข็งคือทำให้การคุมทิศทางบอล groundstroke ได้ง่าย สั่งเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาได้ง๊ายง่าย คนที่เคยตีไม้คอนโทรลมาก่อนจะรู้สึกได้เลยว่าไม่ต้องพยายามเหมือนไม้คอนโทรลตัวอื่น อรรถรสในการตีอาจจะลดลงไปเยอะ ส่วนข้อเสียของไม้แข็งตีนานแล้วอาจเจ็บแขนเพราะพลังงานจากแรงสะท้านส่งผ่านมาที่ศอกและไหล่ได้มากกว่า

Power ของไม้ APD 2013 ให้มาอย่างล้นๆ ตีผ่อนๆก็ไปถึงหลังได้อย่างง่ายดาย หน้าไม้ไม่มีอาการพลิกแต่อย่างใด ถ้าขึ้นเอ็นขอให้ขึ้นตึงไปเลยครับ เลือกเอ็นเส้นโตๆขึ้น 55 ปอนด์จะดีมาก เอ็นที่ผมลองอยู่เป็นโพลีที่ทำงานได้ดีที่ความตึงสูงเลยเข้ากับไม้ตัวนี้ได้ดี ไม่มีอาการแข็งกระด้าง หรือยืดย้วยแต่อย่างใด

นอกจากเรื่องความง่ายในการตีแล้ว จุดเด่นอีกอย่างของไม้ APD 2013 คือความสามารถในการปั่นบอลตีท๊อปสปิน ผมไม่ใช่คนที่ตีท๊อปสปินเป็นหลักแต่ก็สามารถสังเกตุได้ว่ารอบการหมุนของบอลที่เกิดจาก APD 2013 มีมากกว่าไม้ตัวอื่นๆที่ผมกำลังทดสอบในเวลาเดียวกันเช่น Head G-Speed Pro, Dunlop F3.0 Tour, Yonex VCore Tour 97 อย่างชัดเจน เป็นไปได้เพราะว่า string pattern ที่เปิดกว้างกว่า (16x19) เลยกัดบอลได้ดีกว่า แต่ผมว่ามีปัจจัยอื่นๆในไม้ตัวนี้มาช่วยในเรื่องในการตีท๊อปสปินแน่นอน เรื่องท๊อปสปินยังจะเป็นจุดขายของไม้ APD 2013 ได้อีกนานครับ ก็ไม่แปลกที่ไม้ Aero Pro Drive ตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นปัจจุบันดูเหมือนไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย