Pages

Tuesday, December 11, 2012

Guru Talk: เรื่องของ Carbon Fiber วัสดุหลักที่ใช้ทำไม้เทนนิส

ต่อจากตอนที่แล้วเรื่องของวัสดุไฮเทคทั้งหลายที่แต่ละบริษัทเอามาโฆษณา คราวนี้ก็มาถึงเรื่องเนื้อๆของวัสดุหลักแล้วครับ นั่นคือ Carbon Fiber บางคนเรียก Carbon Graphite

ทำไมต้อง Carbon Fiber: เพราะว่ามันมีกำลังต้านทานแรงดึงสูงเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวเองและดูดซับแรงสะท้านได้ดี ลองดูตารางด้านล่างเกี่ยวกับ Ultimate Tensile Strength ของวัสดุประเภทต่างๆจะเห็นว่า Carbon Fiber เกือบจะเบาที่สุดแต่กำลังรับแรงดึงสูงกว่าเหล็ก อลูมิเนียม และไม้ ในขณะที่วัสดุตัวอื่นๆอย่าง Titanium, Liquid Metal และ Tungsten รับแรงดึงได้น้อยกว่าแถมยังน้ำหนักมาก 3-10 เท่าตัว นี่แหละคือเหตุผลที่ผมไม่เชื่อว่าในไม้เทนนิสเบาๆจะมีวัสดุเหล่านี้อยู่ แต่ถ้าบอกว่ามี Aramid หรือ Kevlar หรือ Twaron อยู่ผมว่าฟังแล้วมีเหตุผลมากกว่า



ที่มา:
http://en.wikipedia.org/wiki/Ultimate_tensile_strength 

Carbon Fiber Cloth: คือ Carbon Fiber เป็นมัดๆมาถักทอเป็นผืน ในแต่ละมัด (tow) จะประกอบไปด้วย Carbon Fiber เส้นเล็กๆหลายพันเส้นซึ่งมีตั้งแต่ 1000 (1k), 3000 (3k), 6000 (6k), 12000 (12k) ในอดีต 3k ถือว่าเป็นมัดที่นิยมมากที่สุดเพราะให้ feel ในไม้เทนนิสที่ดีสุด แต่ในปัจจุบัน 3k หายากมากและราคาแพงทางผู้ผลิตเลยหันมาใช้ 6k แทน ส่วนไม้ pro stock หลายๆอันโดยเฉพาะจากค่าย Dunlop และ Head ยังใช้ 3k อยู่ นี่คือเหตุผลว่าทำไมไม้ retail กับไม้ pro stock ให้ feel ที่ไม่เหมือนกัน
 
การทอ Carbon Fiber Tow: มีหลายแบบ ที่ใช้กันมากคือ 
  • Unidirectional หรือการทอทางเดียว ข้อดีคือให้กำลังรับแรงดึงสูงสุด และ มีความอ่อนตัว เลยถูกนำมาใช้เป็นโครงสร้างหลักของไม้เทนนิส
  • 2D Braided คือการทอแบบเส้น Tow ตั้งฉากกัน สามารถรับแรงได้สองแกนตามทิศทางของ Tow และมีลวดลายมีความสวยงาม ไม้เทนนิสหลายๆรุ่นมีการโชว์ลาย 2D เพื่อให้ดูแพงขึ้น
  • 3D Braided คือการทอแบบ 3 Tow ทำ Tow 1 ทำมุม 0 องศา, Tow 2 ทำมุม 45 องศา และ Tow 3 ทำมุม -45 องศา สานกันอยู่ ข้อดีคือสามารถนำมาใช้ในส่วนที่ต้องรับแรงบิดหลายทิศทางและทำให้โครงสร้างส่วนนั้นมีความแข็ง (Stiffness) สูงขึ้น แต่ข้อเสียคือรับแรงดึงได้ไม่สูงเท่า Unidirectional
- ไม้ Dunlop รุ่นเก่าๆใช้โครงสร้าง 3D Braided ในหัวไม้โดยที่ Tow กลางเป็น 3k เลยทำให้ไม้ Dunlop รุ่นเก่าๆอย่าง MW 200g มี feel ที่ดีถึงแม้ว่าหน้าไม้จะแข็ง 
- ไม้ Wilson Pro Staff ใช้ 3D Braided เกือบทั้งไม้ แต่เค้าจะสานกับ Kevlar ซึ่งเป็นวัสดุที่อ่อนและยืดหยุ่นกว่า เลยทำให้ไม้ Pro Staff มี feel ที่อ่อนนุ่มคลาสสิก
- ไม้ Head รุ่นเก่าๆใช้ Unidrectional Graphite แยกชั้นกับ Twaron ไม้ Head รุ่นเก่าๆอย่าง PT630 เลยอ่อนนุ่มและดิบ 


โครงสร้างไม้เทนนิส: ประกอบด้วย Carbon Fiber Cloth มาซ้อนๆรวมกันอย่างน้อย 8 ชั้น (lay up) แต่เนื่องจาก Carbon Fiber มีราคาสูงขึ้น 25% ใน 6 ปีที่ผ่านมาทำให้ผู้ผลิตบางรายต้องลดจำนวนชั้น Carbon Fiber ลงเหลือ 6 หรือ 7 ซึ่งผลคือ feel ไม่แน่นเหมือนไม้รุ่นเก่าๆ Carbon Fiber Cloth จะผสานกันได้ด้วย Epoxy Resin ซึ่งเป็นเหมือนกาวที่เชื่อม Carbon Fiber Cloth แต่ละชั้นไว้ด้วยกัน สาร Epoxy มักจะถูกเคลือบมาบน Carbon Fiber Cloth อยู่ก่อนแล้วเรียกว่า Pre-Preg แล้วพอนำมาอบเค้าจะใส่ตัว Catalyst เข้าไปเพิ่มเพื่อให้ Epoxy ประสานกันที่ความร้อนสูง คุณสมบัติของ Epoxy จะคล้ายกับคอนกรีตคือรับแรงดึงไม่ดีแต่รับแรงเฉือน (Shear Strength) ได้ดีมาก จะว่าไปแล้วการทำไม้เทนนิสก็เหมือนการหล่อโครงสร้างคอนกรีตเสิรมเหล็ก

Carbon Fiber Lay-Up: หรือการนำ Carbon Fiber Cloth มาตัดเป็นชิ้นๆแล้ววางซ้อนกันในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เกิดคุณสมบัติการรับแรงในจุดต่างๆที่ไม่เหมือนกัน เช่นในโครงสร้างหลักของหน้าไม้และก้านเป็น Unidirectional เพื่อรองรับแรงดึงที่เกิดจากเอ็นเส้นตั้งหรือนอนในบริเวณหน้าไม้ และเพื่อรองรับการโก่งตัวของก้านไม้จากการตีบอล ส่วนที่ต้องมีการเจาะรูร้อยเอ็น (ก็ทั้งหน้าไม้นั่นแหละ) เค้าจะเสริมด้วย 2D แต่จะว่างแนวทะแยง +45/-45 องศาแทนที่จะเป็น 0/90 ส่วนในบริเวณ 2, 6, 7, 10 นาฬิกาเป็นจุดที่ต้องรับเอ็นทั้งแนวตั้งและแนวนอน มีโอกาศบิดตัวสูงกว่า เลยต้องมีโครงสร้างแบบ 3D Braided มาเสริมครับ




Feel & Vibration: การวาง lay-up ของ Carbon Fiber Cloth ในแบบต่างๆทำให้เกิด feel ที่แตกต่างกันออกไป ถ้าใครอ่านรีวิวในบล็อกผมบ่อยๆจะเห็นว่าผมอ้างถึง "นุ่ม-แน่น" อยู่หลายครั้ง นี่คือที่มาครับ
- ความแน่นเกิดจากจำนวนชั้น Carbon Fiber อย่างที่บอกว่าควรมี 8 ชั้นขึ้นไปถ้ามี 6 หรือ 7 ความแน่นก็ลดลงไป ผมเชื่อว่าทุกคนต้องการไม้ที่ให้ feel แน่น แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าไม้เทนนิสที่เรามี Carbon Fiber กี่ชั้น ...เรื่องนี้ผู้ผลิตไม่บอกกันแน่นอนครับ ต้องลองเอามาตีเอง แล้วความแน่นก็ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการถ่วงตะกั่วด้วย
- ความแข็ง-นุ่มจะเกิดจาก Carbon Fiber ชุดหลักที่เดินรอบหัวไม้ครับ ถ้าในหัวไม้มี 3D Braided เยอะหน้าไม้ก็จะแข็งๆ แต่ถ้าเป็น Unidirectional หน้าไม้ก็จะนุ่มนวลกว่า แล้วความนุ่ม-แข็งก็ไม่สามารถแก้ไขด้วยการถ่วงตะกั่วเช่นกัน

Feel มักจะมาพร้อมกับแรงสะท้านหรือ Vibration การลดแรงสะท้านที่ถูกหลัก คือการทำให้แรงสะท้านสูญเสียพลังงานไปตามรอยต่อของ Carbon Fiber Cloth ในแต่ละจุดครับ จำนวนจุดยิ่งเยอะแรงสะท้านก็ยิ่งสลายได้ดี ในไม้รุ่นเก่าๆรอยต่ออาจจะมีมากถึง 38 จุดแต่ค่าแรงในการทำจะสูงมาก ไม้รุ่นใหม่ๆรอยต่อน่าจะลดลงไปเพื่อไม่ให้ค่าแรงบานปลาย การลดแรงสะท้านของไม้เทนนิสถือว่าเป็นศิลปะและความชำนาญของผู้ผลิตในแต่ละเจ้าครับ

ความเห็นส่วนตัวเรื่อง Feel: Feel เป็นเรื่องของความชอบของแต่ละบุคคล ผมบอกไม่ได้ว่า feel แบบใหนดีสุด แต่โดยส่วนตัวผมชอบ feel ที่นุ่มและแน่น นั่นหมายความว่าต้องมีจำนวนชั้นของ Carbon Fiber Cloth ที่มากกว่า 8 ชั้นซึ่งหนาพอสมควรและมีส่วนประกอบของ 3k Carbon Fiber หรือเทียบเท่าอยู่ในนั้น ผู้ผลิตหลายรายอ้างว่าตัวเองใช้วัสดุที่บางเบาและแข็งแกร่งขึ้นแต่มันขัดแย้งกับสิ่งที่ผมเชื่อเพราะ

1) ถึงแม้วัสดุจะแน่นบางและแกร่งแค่ใหน แต่ถ้าความหนาไม่พอหรือเนื้อวัสดุแข็งเกินไป มันก็จะไม่สามารถทำให้ feel นุ่ม-แน่นได้
2) มันเป็นไปได้ยากที่ผู้ผลิตจะเอาวัสดุราคาแพงกว่ามาทดแทน Carbon Fiber

วันนี้ขอจบเท่านี้ก่อน ไว้เจอกันคราวหน้า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านนะครับ

Saturday, December 8, 2012

Mini Review: Dunlop Biofiber F3.0 Tour กับ Head IG Radical MP

เมื่อวันศุกร์ไปลองอุปกรณ์ใหม่มาสองชุดครับ



ชุดแรกเป็น Dunlop Biofiber F3.0 Tour (18x20) ที่ขึ้นเอ็น Solinco Outlast 17 ไว้ (กี่ปอนด์ก็ไม่รู้) ซึ่งถือว่าเป็นไม้ที่ฉีกแนว Dunlop 300 Tour เดิมๆมากเพราะให้ feel ที่ modern คล้ายๆกับพวก ไม้ตระกูล Aero ของ Babolat จะว่าไปแล้วคล้ายๆ Wilson BLX Blade 98 รวมกับ Babolat AeroPro Drive รูปร่างหน้าตัดก้านเป็นตัว "D" ซึ่งเป็นแนวโน้มของการออกแบบไม้รุ่นใหม่ๆ ทั้ง Wilson Blade และ Angell ก็ใช้ดีไซน์แบบนี้ สิ่งที่รู้สึกได้จาก D-Beam คือความไวและความนิ่งของหน้าไม้ หน้าไม้ไม่พลิกเหมือน Dunlop 300/300Tour รุ่นก่อนๆ แต่ความไวของหน้าไม้ไวช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการตีบอลใกล้ตัวได้ดี โดยรวมตีง่ายและนิ่งกว่า 300 Tour ตัวเก่า คอนโทรลทิศทางดี ความแข็งของก้านไม้ระบุว่า 64RA แต่ตอนตีแข็งกว่านั้น น่าจะ 67RA เป็นอย่างต่ำ power ไม่จัดเท่า Babolat แต่คนที่บ้าพลังน่าจะชอบตัวนี้โดยเฉพาะถ้าตีแฟลตเพราะคอนโทรลดี อัดแรงๆแล้วไม่ปลิ้นในขณะที่ไม้ Babolat จะเหมาะกับคนที่ตีสปินมากกว่า จุดที่หลายๆคนอาจจะไม่ชอบคือรูปร่างหน้าไม้ที่บานๆเหมือนไม้ oversize ครับ

ชุดที่สองเป็น Head IG Radical MP ที่ขึ้น Solinco Tour Bite 17 ชุดนี้ให้ feel ที่เป็นคนและแนวกับชุดแรกเลย ในขณะที่ Dunlop จะให้ความรู้สึก "ตีง่าย" แต่ Head จะให้ความรู้สึก "ตีมันส์" ไม้กับเอ็นเข้ากันมากๆ ไม้ก้านอ่อนกับเอ็นเฟิร์มเหมาะกับคนที่ชอบอัดบอลแรงๆและเล่นเกมรุก รูปร่างหน้าไม้เป็นรูปไข่สวยงามตามสไตล์ของ Head Radical MP ก้านไม้เป็นแบบ aero ไม่ box beam เหมือนรุ่นเก่าๆแล้ว ไม้คล่องตัวพอๆกับชุดแรก และคอนโทรลดีพอๆกัน แต่ส่วนตัวแล้วผมว่า IG Radical MP ยิงบอลได้หนักหน่วงกว่าและคงเส้นคงวากว่า Dunlop F3.0 Tour อาจจะเป็นเพราะการกระจายน้ำหนักมาทางหัวไม้มากกว่า ความนิ่งของหน้าไม้เป็นรอง Dunlop ครับ ถ้าเป็นไปได้ผมอยากได้ไม้ที่ให้ feel โดยรวมคล้ายๆ Head IG Radical MP แต่รูปร่างเป็น D-Beam จะเยี่ยมมากๆ

ระหว่างไม้ power เอ็น spin กับ ไม้ spin เอ็น power

อาทิตย์ก่อนมีคนถามเรื่องการเลือกใช้ไม้และเอ็นระหว่าง ไม้ power กับเอ็น spin หรือไม้ spin หรือเอ็น power ดี แล้วผมก็มีโอกาสได้ตอบคำถามซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคนเลยเอามาแชร์กันครับ

ถ้าเทคนิคเท่าๆกันแล้วอุปกรณ์ประภทใหนจะเอื้ออำนวยในการตี topspin มากกว่า

1) ทั้งไม้และเอ็นมีผลต่อการเอื้ออำนวยในการตีสปิน มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสไตล์ผู้เล่นครับว่าซวิงช้าหรือเร็ว เริ่มที่ไม้ก่อน ผมใช้คำว่าเอื้ออำนวยในการตีสปิน (spin friendly) เพราะว่าจากผลการทดสอบของ TW ไม้หลายๆตัวมี spin potential ใกล้เคียงกันมาก แยกแทบไม่ออก Head Prestige MP มี spin window และ ball trajectory พอๆกับ Babolat AeroPro Drive ทั้งๆที่เป็นไม้คนละประเภท แต่ไม้แบบใหนล่ะที่จัดช่วยให้คุณปัดบอลได้ดีกว่าตรงนี้แค่ spec ตอบไม่ได้ คุณต้องลองเองครับ แต่จากประสปการณ์ คนที่ซวิงช้าไม้หัวไวอย่าง Prince EXO3 จะช่วยได้เยอะมาก ส่วนคนที่ซวิงเร็วๆไม้อย่าง Babolat AeroPro จะเข้ากันได้ดีกว่าเพราะมันจะบังคับให้คุณตีสปินอยู่ตลอดเวลาเพื่อคอนโทรลไม่ให้ตีลูกออก

ตีบอล 30 องศา


ตีบอล 45 องศา


เอ็นก็มีส่วนทำให้เกิดสปินมากหรือน้อย (โดยส่วนตัวผมคิดว่าเอ็นอาจจะมีผลมากกว่าไม้) สปินเกิดจาก snap-back effect ของเอ็นคือเอ็นเส้นตั้งยืดตัวด้านข้างไปตามแนวเอ็นเส้นนอนและดีดตัวกลับในเสี้ยววินาทีเพื่อปั่นบอลให้มีรอบการหมุนที่สูงขึ้น เอ็น spin ส่วนใหญ่จะมีผิวสัมผัสน้อยๆเพื่อให้เอ็นสามารถเคลื่อนตัวไปมาได้ดีครับ ข้อสังเกตของเอ็นสปินคือ ยืดตัวดี แต่ผิวแข็งมาก ที่ต้องเป็นเช่นนั้นเพราะว่าถ้าผิวไม่แข็ง เอ็นจะเป็นรอยง่าย พอเป็นรอยหรือเอ็นกัดกัน มันก็จะเคลื่อนตัวไปมาได้ไม่ดีแล้วก็จะลดประสิทธิภาพสปิน ทั้ง Wilson และ Luxilon ศึกษาและเชื่อเรื่อง snap-back effect มานานแล้ว ลองไปอ่านดูได้ครับ
http://www.tennis.com/gear/2012/09/gear-talk-wilsons-john-lyons-part-1/39374/ หรือไม่ก็บทความใน TW http://twu.tennis-warehouse.com/learning_center/stringmovementPart2.php

2) ถ้าให้เลือกอุปกรณ์ 2 แบบ ไม้ spin กับไม้ power ในตลาดมักเป็นไม้ประเภทเดียวกันเพราะฉะนั้นไม่ต้องคิดมาก แต่มีสิ่งนึงที่จะแนะนำคือรูปร่างหน้าตัดเฟรมซึ่งหลายคนมองข้ามแต่ผมว่ามันมีผลมากๆว่าจะตีได้หรือไม่ได้ ที่เคยเจอมา คนตี box beam มาก่อนมักจะตี aero beam ไม่ค่อยได้ แต่คนที่ตี aero beam มาจะตี box beam พอได้

ส่วนเรื่องเอ็นผมก็คงเลือกเอ็นสปินครับ เพราะความชอบส่วนตัว แต่เอ็นสปิน (poly) ก็มี 2 แบบหลักๆตามประเภทของ feel

2.1 Dead feel: จะให้ feel เกาะบอลมาก แข็งนิดๆ ไม่ค่อยเด้ง power น้อย แต่คอนโทรลดี เอ็นในกลุ่มนี้ได้แก่ Luxlilon ALU Power/Power Rough, Solinco Tour Bite, Solinco Barb Wire


2.2 Lively feel: จะให้ feel ที่นุ่มนวลกว่า เด้ง และ power ดี  เอ็นในกลุ่มนี้ได้แก่ Babolat RPM Blast, Volkl Cyclone, Solinco Revolution, Weisscannon Mosquito Bite, MSV Focus, Topspin Cyber Blue

ไม่มีคำตอบว่า feel แบบใหนดีกว่ากัน ขึ้นอยู่กับความชอบครับ