Pages

Wednesday, November 30, 2011

การเลือกใช้ความตึงสำหรับเอ็นโพลี

Rating:★★★★
Category:Other
มีคำถามที่ผมพบบ่อยๆว่าทำไมเอ็นโพลียืดเร็วจัง วันนี้ผมพอจะมีคำตอบจากการทดสอบเองและจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญครับ

ปกติเอ็น poly ทั่วไปถูกออกแบบมาให้ยืดตัวได้ดีที่ความตึงต่ำๆ 30-40 lbs สูงสุดไม่เกิน 52 lbs ถ้าเกินจากจุดนี้ไปแล้วเอ็นจะยืดตัวได้ไม่ดีหรือไม่ก็เสียความยืดหยุ่นไปเลย ลองนึกถึงสปริงใส้ปากกาดูครับ สปริงจะยืดตัวได้ดีถ้าเราไม่ดึงเลยจุดครากของมัน แต่ถ้าเลยไปแล้วก็มันจะยืดไปเลย เอ็น poly และ soft poly ก็เป็นเหมือนกันเพราะมันเป็นโครงสร้าง monofilament (โครงสร้างเส้นเดี่ยว) เหมือนสปริงที่ยืดตัวได้ดีในช่วงสั้นๆและคืนตัวเร็ว ไม่เหมือนกับเอ็น natural gut หรือ multifilament ที่มีโครงสร้างเอ็นแบบเส้นเล็กหลายเส้นรวมกันที่มีจุดยืดหยุ่นสูงกว่าสามารถขึ้นได้เกิน 60 lbs ได้อย่างสบายๆแต่ข้อเสียคือคืนตัวช้าทำให้ power ต่ำกว่าและ spin ไม่ดีเท่าเอ็นที่คืนตัวเร็ว



เพราะฉะนั้นแฟนๆโพลีที่ชอบขึ้นเอ็นสูงกว่า 57lbs ผมแนะนำให้ลองปรับความตึงให้ต่ำลงประมาณ 52-55 lbs ดูครับ แต่ก็อาจจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับความตึงต่ำบ้าง เพื่อให้เอ็น poly อยู่ได้นานขึ้น ลองดูบทความนี้นะครับ [url]http://www.gutsandglorytennis.com/blog/2011/03/the-definitive-guide-to-stringing-polys-and-co-polys/[/url]

"First of all, and perhaps the biggest obstacle to overcome, is to realize that poly-based strings are designed to perform best at lower tensions. We are talking a tension range in the 30′s – 40′s. The absolute top end of that range would be 52 pounds. Once you go beyond 52, you are entering the point of quickly diminishing returns. "

รูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบการรักษาความตึงของเอ็นที่ความตึงต่างๆ (52, 55, 58 lbs) ถ้ารอยตัดยิ่งกว้างหมายถึงการรักษาความตึงที่ดีกว่า ค่อนข้างชัดเจนว่าที่ 58 lbs อาจจะเลยจุดยืดหยุ่นของเอ็นไปแล้ว (เป็นเหมือนกันทั้ง 3 ยี่ห้อ) ในขณะที่เอ็น multi จะรักษาความตึงได้ดีกว่า (Solinco XN และ Vanquish) แต่ข้อเสียคือคืนตัวช้า ซึ่งส่งผลในเรื่อง power และ spin ที่น้อยกว่าครับ


Thursday, November 3, 2011

miAdidas Barricade 7

Rating:★★★★
Category:Other


เช้านี้ทาง miAdidas ส่งเมลมาบอกเพื่อนผมที่สิงค์โปร์ว่าวันนี้ miAdidas Barricade 7 มีให้เริ่มสั่งทางออนไลน์แล้ว http://www.miadidas.com/ProductListing.action?_sourcePage=%2FWEB-INF%2Fjsp%2Fmicrosite%2FProductListingPage.jsp&navCategory=sports ตอนเย็นผมก็เลยลองแวะไปดูที่ Central World (ยังแห้งอยู่) ก็พบว่าทางช้อปมีให้สั่งแล้วเช่นกัน แต่ยังไม่มีราคา คือมาวัดเท้าและเลือกสีก่อนได้เลย ราคาทางร้านจะโทรแจ้งทีหลัง

ภายนอก: โดยรวมรูปลักษณ์ภายนอกดู casual มากขึ้น (คล้ายๆกับ Nike Vapor 8) ไม่ดูเข้มเหมือนรุ่นก่อนๆ ข้อดีคือสามารถนำมาใส่ลำลองได้ดี น้ำหนักของ Barricade 7 เบากว่า Barricade 6 นิดหน่อย ตรงลาย 3 ขีดดูไม่ดีเท่ารุ่นก่อนๆ เพราะเป็นแค่เส้นพลาสติกแบบนูนต่ำเหมือนกับรุ่น Barricade Team มองจากด้านบน Barricade 7 ดูกว้างกว่านิดๆและทรงไม่ลู่เข้าด้านนิ้วโป้งเหมือน Barricade 6





การโอบอุ้มเท้า: หลายคนมีปัญหาเรื่องความแคบของ Barricade 6 แต่ Barricade 7 มีทั้งข่าวดีและข่าวไม่ค่อยดีครับ เท่าที่ผมสอบถามกับทางช้อปพบว่า miAdidas มี 2 fit คือ narrow fit และ medium fit แต่ถ้าเป็น retail version จะมีแค่ 1 fit ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็น narrow fit คนเอเชียส่วนใหญ่เป็น wide fit ซึ่ง Barricade 7 ไม่มี (แต่ medium fit ก็ยังพอใส่ได้) เท่าที่ผมได้ลองใส่พบว่า Barricade 7 Medium Fit จะกว้างกว่า Barricade 6 อยู่ 1/2 เบอร์ ผมเคยใส่ Barricade 6 เบอร์ 9.5 แต่พอมาลอง Barricade 7 เบอร์ 9 จะพอดีที่สุด





วัสดุ: แบ่งเป็น 3 ส่วน
- วัสดุส่วนบน (upper sole): บางกว่า Barricade 5 และ 6 วัสดุเป็นเหมือนผ้าหุ้มพลาสติกบางๆ ไม่ได้เป็นหนังด้านนอกแล้วบุผ้าหนาๆข้างในที่ให้ความรู้สึกแน่นแข็งแรงเหมือนรุ่นก่อน feel โดยรวมคือ "อ่อนแต่ไม่นุ่ม" จะว่าไปแล้ว feel คล้ายๆกับ Nike Vapor 8 เลย โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะมันรู้สึกบอบบางและพลาสติกเกินไป บริเวณหุ้มนิ้วโป้งเป็นวัสดุ adiTUFF ซึ่งเท่าที่ดูๆมันก็คือยางชิ้นนึงมาแปะไว้ ถามว่าจำเป็นต้องมีมั๊ย ถ้าคนที่ไม่สไลด์เท้าบ่อยก็ไม่จำเป็นครับ แต่ถ้า slide บ่อย ...ผมว่า adiTUFF ก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน :) นักกีฬาบางคนต้องให้ช่างทำรองเท้าเย็บหนังแปะเพิ่มบริเวณนิ้วโป้ง
- พื้นส่วนกลาง (mid sole): ถ้าเป็น miAdidas จะมีให้เลือก 2 แบบ คือ firm (แข็ง) กับ medium (แข็งกลางๆ) แต่ถ้าเป็น retail คงจะมีแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเดาว่าเป็น firm ถ้าอยากให้นุ่มขึ้นก็เปลี่ยนพื้นด้านในเอาเอง
- พื้นส่วนใน (inner sole): เหมือนเดิม
- พื้นส่วนล่าง (outer sole): มีการเปลี่ยนลายดอกยางบริเวณฝ่าเท้า โดยจะมีลายเป็นวงกลมเพิ่มอีก 1 วง





ความมั่นคง
- ด้านข้างยังเยี่ยมเหมือนเดิม เท่าที่ลองสไลด์ไป-มายังไม่พบอาการพลิก เฟรมด้านล่างยังน่าจะรองรับแรงบิดได้ดีเหมือนเดิม แล้วก็มี speed cut มาช่วยปกป้องส่วนนิ้วก้อยตอนหยุดกระทันหัน แต่ดูไม่แข็งแรงเท่า Barricade 6
- ด้านหลังดีขึ้นเพราะมีตัวล็อกหลังเท้าเข้ามาช่วย ต่างจาก Babolat ProPulse 3 ที่เป็นระบบเข็มขัดรัด
- ช่วงล่างยังให้ความมั่นคงที่ยอดเยี่ยมเหมือน Barricade ทุกตัวที่ผมได้ลอง (4, 5, 6)



ใครสนใจก็ไปลองได้ที่ Adidas Shop @ Central World ครับ