Pages

Tuesday, October 23, 2012

พื้นฐานการปรับแต่งไม้ - Racquet Customization Fundamental



ปัญหาของคนส่วนใหญ่พอได้ไม้ใหม่มา คือ "ตีไม่เข้ามือ" คำว่าไม่เข้ามือมันตีความได้หลายอย่าง หนักไป เบาเกิน ตีไม่เข้า sweet spot, power น้อยหรือมากไป สุดท้ายก็โบ้ยว่าไม้ไม่ดีแล้วก็ขายไม้ทิ้ง

เรื่องที่ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจผิดที่สุดคือ power ซึ่งมันจะโยงใยไปหลายเรื่องตั้งแต่ ไม้ เอ็น การฝึกซ้อม รูปแบบเกม ฯลฯ แต่สุดท้ายคนจะโทษไม้ สองปีที่ผ่านมาผมได้ไปดูรายการเยาวชนหลายรายการและจากสถิติของการชนะ-แพ้คือ Unforced Error การตีบอลออกมีเยอะมาก เยาวชนไทยส่วนใหญ่ถูกฝึกให้ตี ground stroke จนชิน ไม่ยอมขึ้นมา volley เพื่อปิดเกมให้เร็ว (แขนขาสั้น อาจจะกลัวโดน passing shot ก็ได้) พอต้องโต้ท้ายคอร์ทกันนาน แพ้หรือชนะอยู่ที่ใครพลาดมากน้อยกว่ากัน เด็กที่เป็นมวยกว่าก็มักจะเปลี่ยนสปีดบอลให้อีกฝ่ายปรับสปีดตาม หรือตีสปินสปิดต่ำๆเพื่อให้อีกฝ่ายอัดกลับมาให้แรงขึ้นๆ พอเร่งเข้ามากๆ ก็ตีติดเน็ตหรือหลุดหลังไปเลย สุดท้ายก็โทษไม้แล้วก็มาหาไม้ใหม่ที่ power เยอะขึ้นไปอีก! ผมได้ยินเรื่องพวกนี้บ่อยมากแต่ที่ผมคิดในใจคือ ถ้าเค้าเอาไม้ที่หน้าใหญ่ขึ้น power เยอะขึ้น มันไม่เท่ากับเค้าเพิ่มโอกาสผิดพลาดขึ้นไปอีกเหรอ?

ในการแข่งขันระดับอาชีพเค้าไม้ปรับหน้าไม้กันครับ นักเทนนิสอาชีพเค้าใช้ไม้เดิมตลอดแต่เค้าจะแก้ไขเรื่องพวกนี้ด้วยการปรับน้ำหนักและบาลานซ์แทนครับ

การเพิ่ม power ทำได้ 2 วิธีคือ
  1. ซวิงให้เร็วขึ้น โดยการลด swing weight ลงเพื่อให้ซวิงไม้ได้เร็วขึ้น เหมาะกับคนที่ชอบตีท๊อปสปินเป็นหลัก
  2. ซวิงเร็วเท่าเดิม แต่เพิ่ม swing weight ของไม้ หรือเพิ่มแรงปะทะของหน้าไม้นั่นเอง เหมาะกับคนที่ตีบอลแฟลต
การจะเลือกหนึ่งหรือสองขึ้นอยู่กับความชอบแต่ละคนครับ ผมชอบตีบอลแฟลต ชอบไม้ที่ซวิงลื่นไหลพอสมควร ผมเลยใช้ไม้ที่บางกว่า 20mm เป็นหลัก และต้องการให้การปะทะเกิดแรงต้านน้อยสุด (maximum plow-thru) เลยชอบไม้หนักๆ วันนี่ก็เลยมาแนะนำวิธีการปรับแต่งไม้เพิ่ม swing weight เป็นตัวอย่าง ผมมีไม้อยู่ 2 ตัวคือ
  1. Head PT10 เป็นไม้ pro stock ของ Marat Safin ที่ผ่านการปรับน้ำหนักมาแล้ว ตีมันส์มากๆเลยเอาไม้ตัวนี้มาเป็นต้นแบบ
  2. Head TGK 237.3C1 ซึ่งก็น่าจะเป็นไม้ pro stock ของ Marat Safin เหมือนกัน ไม้เปล่าๆเบามาก เบาจนแรงปะทะไม่พอ
อันดับแรก: เอาไม้แต่ละตัวมาตัดเอ็นทิ้ง ถอด overgrip ออก แล้วก็เอาขึ้นชั่ง  Head TGK ชั่งได้ 318g


ส่วนไม้ Head PT10 ชั่งได้ 339g ต่างกับ TGK อยู่ตั้ง 21g


ต่อมาก็วัดบาลานซ์ครับ TGK วัดได้ 31.5 cm จากท้ายด้าม


Head PT10 วัดได้ 30.5cm จากท้ายด้าม นั่นหมายความว่า PT10 หัวหนักกว่า TGK, บาลานซ์ต่างกัน 1cm นี่ถือว่าเยอะนะครับ ความไวหัวไม้ต่างกันจนรู้สึกได้ชัดเจน


เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลมากรอกใน Customization Tool ของ Tennis Warehouse http://twu.tennis-warehouse.com/learning_center/customization.php ด้านซ้ายเป็นข้อมูลของไม้ TGK และด้านขวาเป็น spec ของ PT10 ที่ผมต้องการปรับไม้ TGK ให้เป็น


พอคำณวนเสร็จก็จะได้ตำแหน่งของตะกั่ว 21g ที่ผมต้องถ่วง ในนี้จะมีคำตอบสองแบบ
- แบบที่ 1: เน้นให้หัวเบา swing weight ต่ำ จะได้ซวิงได้เร็ว ตะกั่วทั้ง 21g ลงมาอยู่ที่เหนือกริป
- แบบที่ 2: เน้นให้หัวหนัก swing weight สูง เพื่อเพิ่มแรงปะทะ จะแบ่งตะกั่วเป็น 2 ส่วน 4g อยู่ที่หัวไม้บนสุด กับ 17g อยู่ที่ด้ามไม้-> ผมเลือกวิธีนี้เลย


แล้วก็ตัดแถบตะกั่วให้ได้ตามน้ำหนักที่ต้องการ ที่ถุงตะกั่วมีคำเตือนว่าการสัมผัสตะกั่วเป็นอันตราย เพราะฉะนั้นแนะนำให้ใส่ถุงมือนะครับ


เริ่มติดตะกั่วบนหัวไม้ ต้องรื้อตาไก่ออกมาเล็กน้อย



ชั่งตะกั่ว 17g สำหรับด้ามไม้ให้เกินเล็กน้อย เพื่อชดเชยกับน้ำหนักกระดาษกาวที่เราต้องลอกออกไป


เลาะกริปหนังออกแล้วก็ติดตะกั่วลงไปที่ปลายด้ามเหนือ butt cap ครับ จริงๆผมอยากฝังตะกั่วที่ในด้ามมากกว่าเพราะไม่อยากให้กริปใหญ่ขึ้น แต่การฝังตะกั่วในด้ามมันยุ่งยากเกินแล้วต้องใช้ซิลิโคนด้วย เอาแบบนี้แหละ ง่ายดี  :) ผมเคยเห็นไม้ของ Tommy Haas พี่แกพันตะกั่วทั้งด้ามเลย ไม้เลยหัวเบามากๆ


เรียบร้อยครับ ได้น้ำหนัก 339g เป๊ะ


บาลานซ์ก็ได้ 30.5cm เหมือนกับของ PT10 พอลองเอาไม้ทั้งสองอันมาเหวี่ยงๆดูก็ อื้ม! ใช้ได้ เป็นอันว่าจบครับ เดี๋ยวจะเอาไปขึ้นเอ็นลองตีดู

1 comment:

  1. เป็นวิทยาทานที่ดีมากมากเลยคับ

    ReplyDelete