Pages

Monday, January 10, 2011

ความหมายของ Feel และความแตกต่างของตัวกันสะเทือน (Vibration Dampener) ประเภทต่างๆ

Rating:★★★★
Category:Other
Feel: หลายๆคนมีคำถามว่า Feel ของอุปกรณ์เทนนิสต่างๆ มีความหมายอย่างไร ผมทำสรุปจากประสปการณ์มาให้ดังนี้ครับ

นุ่ม (soft) = ความรู้สึกที่เอ็นสัมผัสลูกบอลแล้วรู้สึกถึงแรงปะทะที่ลดลงเนื่องมาจากหน้าเอ็น (stringbed) ยุบตัวเพื่ออุ้มลูกนานขึ้น เอาง่ายๆลองนึกภาพที่เราเอามือชกลงไปที่หมอน หมอนจะยุบตัวเพื่ออุ้มมือเราไว้ ความนุ่มส่วนใหญ่มาจากเอ็นครับ

แน่น (solid) = ความรู้สึกที่หน้าเอ็นสัมผัสบอลอย่างเต็มที่ตอนตีบอล โดยที่หน้าไม้ไม่พลิกหรือสั่นกระพือเนื่องจากมวลของไม้ช่วยต้านไว้ และให้เสียงที่หนักแน่น ไม้เฟรมบาง (<20mm) ที่หน้า 90-98 เอ็น 18x20 ที่หนักมากกว่า 300g จะให้ solid feel ที่ชัดเจน เนื่องจากชั้นของวัสดุที่หนากว่า

กลวง (hollow) = ความรู้สึกที่มาจากการตีไม้ที่มีข้างในมีความกลวงส่วนใหญ่มาจากไม้ที่มีขนาดเฟรมหนา (>20mm) น้ำหนักเบา (<300g) มีชั้นวัสดุที่บาง และ string patter แบบเปิด (16x18 หรือ 16x19) เมื่อตีลูกเสียงจะดังแป๊งๆ เหมือนเคาะกระป๋องเปล่า ไม่แน่นเหมือนไม้ solid และบางครั้งหน้าไม้มีการสะบัดมากกว่าไม้ solid เนื่องมาจากการตี off-center ทำให้ควบคุมทิศทางลูกลำบาก

นอกจากนี้ก็จะมีความรู้สึก "อ่อน" หรือ flexible ซึ่งตรงข้ามกับ "แข็ง" หรือ stiff ซึ่งเป็นการอธิบายถึงความยืดหยุ่นของก้านไม้ ไม้ที่อ่อนคือไม้ที่ stiffness ต่ำกว่า 63RA ในขณะที่ไม้มี่มี stiffness มากกว่า 63RA จะรู้สึกได้ถึงความแข็ง โดยทั่วๆไปไม้ที่แข็งกว่าจะให้ power ที่สูงกกว่า แต่มันก็จะส่งผ่านแรงสะท้านมาที่แขนสูงกว่า โอกาสเกิด Tennis Elbow ก็เยอะตามไปด้วย ถ้าถามว่าแล้วไม้ที่ดีควรเป็นอย่างไร คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน ถ้าเป็นผม ผมตี flat เป็นหลัก แรงปะทะจากลูกมากกว่าการตีสปิน และต้องการไม้ที่ feel the ball ดีเหมือนกับจับลูกขว้างเอง เพราะฉะนั้นผมจะเลือกไม้ที่มีโครงสร้างคล้ายๆกับแขนของตัวเอง คือ flexible, soft, solid เพื่อจะให้รู้สึกว่าแขนและแร็กเก็ตเป็นท่อนเดียวกัน สามารถกะน้ำหนักลูกได้ดี และใช้ความแน่นและอ่อนของแร็กเก็ตมาลดแรงปะทะจากการตีบอล แต่ถ้าเป็นคนที่ตีสปินเป็นหลัก แรงปะทะลูกจะน้อยกว่า feel อาจจะไม่สำคัญเท่าไหร่ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ น้ำหนักไม้ที่เบา หัวเร็ว ปั่นลูกได้ดี และ power สูง คือตีเฉี่ยวๆก็ไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็จะได้ไม้อีกแบบนึงครับ

Dampener: แต่ใหนแต่ไรมาผมเล่นเทนนิสไม่เคยใช้ตัวกันสะเทือน (Vibration Dampener) มาก่อนเลย อาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อก่อนใช้แต่เอ็น multifilament กับไม้ classic ที่วัสดุกราไฟต์ยุคเก่าจะทำหน้าที่เป็น dampener ไปในตัว แต่พอมาหลังๆนี่เอ็น Poly เริ่มเข้ามาในชีวิตมากขึ้น ผมก็ไม่อยากเสี่ยงที่จะรับแรงสั่นสะเทือนจากการใช้เอ็นเหล่านี้ เลยหันมาใช้ตัวกันสะเทือนมากขึ้น หลังจากที่ได้ลองตัวกันสะเทือนมาหลายตัวหลายแบบ ผมมีข้อสรุปที่พอจะแชร์ได้ประมาณนี้ครับ



Wilson (แถวบน): ทำจากยางแบบอ่อนเหมือนยางลบ พวกนี้จะลด shock ไปประมาณครึ่งนึงทำให้ยังเหลือ feel อยู่บ้างพวก ใครชอบ feel เดิมๆของไม้กับเอ็นแต่ต้องการลด shock และเสียง ping บางส่วนลงไปก็ใช้ตัวนี้ครับ

Tourna (o-ring), Donnay, Babolat Aero (แถวกลาง): ทำจากยางอ่อนเช่นกันแต่เจาะรูตรงกลาง พวกนี้จะลด shock และเสียง ping ไปเกือบทั้งหมด ถ้าใครชอบ feel แบบเงียบๆ classic ก็ตัวนี้เลยครับ

Head Djokovic (สีส้มแถวล่างทั้งซ้ายและขวา): ตัวนี้จะคล้ายๆกับของ Wilson ซึ่ง Head ทำขึ้นมาให้ Djokovic ใช้โดยเฉพาะ เดิม Novak Djokovic ใช้ของ Wilson หน้ายิ้ม

Head Logo (ตัวสีดำด้านล่าง): มาพร้อมกับไม้ของ Head ทำจากยางชนิดแข็ง ช่วยลด shock ได้น้อยที่สุด

หนังสติ๊ก (Rubber band): อันนี้จะให้ feel เกือบเป็นศูนย์เหมือน Tourna, Donnay และ Babolat Aero

นอกจากเรื่องของ feel แล้วอย่าลืมว่าการติดตัวกันสะเทือนลงไปบนหน้าไม้จะทำให้ balance เปลี่ยนไปด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นอาจจะต้องถ่วงตะกั่ที่ด้ามไม้เพิ่มขึ้นด้วย

1 comment:

  1. สำหรับผม ถ้าไม่ใช้ จะตีไม่ได้เลย มันติดซะแล้ว
    ถ้าขาดเธอ ไม้จะกลายเป็นเหล็กทันที

    ReplyDelete